วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไม้ไผ่กับวัฒนธรรม
 
           คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รักธรรมชาติ ยิ้มแย้มแจ่มใสใจดี รักศิลปะ เสียงเพลงและดนตรี มีนิสัยอ่อนโยนอ่อนน้อมถ่อมตนและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดีมีภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่ใกล้มือในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือใช้สอยในชีวิตประจำวันได้อย่างสวยงามโดยเฉพาะไม้ไผ่ เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์โดยตรงหรือแปรรูปให้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต คนไทยรู้จักคุ้นเคยและมีความผูกพันอย่างชนิดแยกไม่ออกมาตั้งแต่เกิดจนตาย กลายเป็นวัฒนธรรมสืบทอดกันต่อมา    "ไผ่" เป็นชื่อพันธุ์ไม้พวกหนึ่ง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ กล่าวว่า ไผ่เป็นชื่อพรรณไม้พวกหนึ่ง ( Bambusa spp.) อยู่ในวงศ์ Graminese เป็นกอ ลำต้นสูง และเป็นปล้องๆ มีหลายชนิดมากกว่า ๑,๒๕๐ ขนิด ๕๐ ตระกูล เช่น ไผ่จีน ไผ่ป่า ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ดำ เป็นต้น ไม้ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะเฉพาะที่แปลกไปจากพืชและพันธุ์ไม้อื่นๆ เพราะแม้ว่าไผ่มีลักษณะที่ควรจะเป็นต้นไม้ แต่ไผ่กลับถูกจัดเป็นหญ้าประเภทหนึ่ง และเป็น "หญ้ายักษ์" เพราะลำต้นสูง กลวงเป็นปล้องๆ หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าใบไผ่คล้ายกับใบหญ้า ไผ่ขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ เพราะหนึ่งในร้อยปีไผ่จึงอาจจะออกดอกสักครั้ง และหลังจากออกดอกแล้วก็ตาย ไผ่จะเติบโตอย่างรวดเร็วและจะโตเต็มที่ภายในสองเดือน และจะคงขนาดเช่นนั้นไปตลอดชีวิตของมัน ลำต้นของไผ่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๐.๗ - ๗ นิ้ว สูง ๑ - ๖๐ ฟุต ไผ่ขึ้นได้ทั้งในบริเวณที่มีอากาศอบอุ่นและอากาศเย็นต่ำกว่าศูนย์องศา ไผ่จึงเป็นไม้ที่มีมากในบริเวณเอเซียและแปซิฟิค อเมริกาใต้บางท้องถิ่น
คุณลักษณะพิเศษของ "ไผ่"
           ๑.ไผ่โตเร็วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ภายในเวลา ๑ - ๔ ปี และใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่รากไผ่เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นยารักษาโรคได้ หนิอไผ่หรือหน่อไม้ใช้ทำอาหาร กาบหรือใบไผ่ใช้ห่ออาหารหรือหมักปุ๋ย กิ่งและแขนงใช้ทำรั้ว ลำต้นใช้ประโยชน์ได้สารพัดอย่าง ตั้งแต่นำมาใช้ปลูกสร้างที่พักอาศัยและแปรรูปเป็นเครื่องจักสานและเครื่องมือเครื่องใช้นานาชนิดจนถึงนำมาใช้เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย
           คังนั้นชาวนาจึงมักปลูกไผ่ตามหัวไร่ปลายนา และปลูกไว้รอบๆบ้าน เพื่อใช้เป็นรั้วบ้านและป้องกันพายุ เพราะไม้ไผ่จะลู่ตามลมไม่หักโค่นเหมือนไม้อื่น หากปลูกไผ่ไว้ตามริมแม่น้ำลำคลอง จะช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำไม่ให้ดินพัวทะลายง่าย นอกจากนี้ไผ่ยังใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้ด้วย


            ๒. ไผ่มีลำต้นตรงและกลวงคล้ายหลอดและมีปล้องข้อคั่นเป็นปล้องๆ จึงใช้เป็นภาชนะประเภทกระบอก ถ้วย สำหรับใส่ของเหลว เช่นใช้เป็นกระบอกน้ำ กระบอกน้ำตาล ซึ่งใช้กันทั่วไปในหลายประเทศ ลักษณะพิเศษของไม้ไผ่นี้สามารถนำมาใช้สร้างอาคารที่พักอาศัยได้ โดยนำมาทำเป็นโครงสร้างของบ้านเรือน ใช้เป็นพื้นเรือน ฝาเรือน ใช้ทำรางน้ำ ท่อน้ำ และทำเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ยได้ดีอีกด้วย

           ๓. เนื้อไผ่เป็นเส้นตรงมีความยืดหยุ่นในตัวเองและสามารถคินตัวสู่สภาพเดิมได้ เมื่อนำไม้ไผ่มาแปรรูปก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ดี เพราะเนื้อไม้ไผ่เป็นเส้นตรง นำมาจักเป็นปื้นบางๆ หรือเหลาเป็นเส้นได้ดี จึงใช้ทำเครื่องจักสานนานาชนิดได้ ทั้งเครื่องจักสานที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรงมั่นคง สำหรับใช้งานหนักจนถึงเครื่องจักสานขนาดเล็กที่มีความปราณีตบอบบาง และเพราะคุณสมบัติในที่มีความยืดหยุ่น จึงเหมาะที่จะใช้เป็นเครื่องหาบหรือหาม เช่น คาน คันกระสุน คันธนูและเมื่อแปรรูปเป็นตอกก็ยังมีความยืดหยุ่นคืนรูปทรงเดิมได้ง่ายจึงทำให้ภาชนะจักสานที่ทำจากไผ่มีคุณลักษณะพิเศษต่างไปจากภาชนะที่ทำจากวัตถุดิบชนิดอื่น
           ๔. ไม้ไผ่มีความสวยงามในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นผิวที่มีสีต่างๆ กันเมื่อแห้งแล้วมักจะมีสีเหลืองอยู่เช่นนั้นตลอดไป ด้วยคุณสมบัติพิเศษนี้ ชาวเอเซียจึงใช้เหล็กหรือโลหะเผาไฟจนร้อนแล้วเขียนตัวอักษรหรือลวดลายลงบนผิวไม้ไผ่ ( Bamboo Pyrographic ) เช่นจีนจารึกบทกวีบนผิวไม้ไผ่ ชาวญี่ปุ่นใช้เขียนชื่อเจ้าของบ้านแขวนไว้หน้าบ้านและจารึกบทกวีแขวนไว้สองข้างประตูเรือนน้ำชา ( Tea House ) ชาวเกาหลีใช้เขียนเป็นลวดลายบนเครื่องใช้ เช่นเดียวกับที่ชาวบาตัก ( Batak) ในประเทศอินโดนีเซีย ใช้เหล็กเผาไฟ ขูด ขีด เขียน ลงบนกระบอกไม้ไผ่ สำหรับเก็บยาหรือทำเป็นปฏิทิน ในขณะที่ชาวบาหลีใช้จารลงบนผิวไผ่เป็นแผ่นๆ เพื่อใช้เป็นคัมภีร์ในศาสนาตน นอกจากไม้ไผ่จะมีผิวสวยแล้ว เนื้อไผ่ยังมีลักษณะพิเศษต่างจากเนื้อไม้อื่นคือ มีเสี้ยนยาวขนานกันเป็นเส้น จึงแปรรูปเป็นเส้น เป็นปื้น หรือเหลาให้กลมได้ง่าย และเมื่อแก่เต็มที่แล้วจะเป็นเส้นละเอียดแข็ง มอดแมลงไม่กินจนมีผู้กล่าวว่า เครื่องจักสานไม้ไผ่นั้น ผู้สานสามารถสานให้เป็นรูปทรงแปลกๆ แตกต่างกันได้มากมาย จนเครื่องจักสานบางชิ้นมีรูปทรงและผิวสวยงามดุจงานประติมากรรมสมัยใหม่ทีเดียว


 

 
ต้นไผ่ ไผ่สีสุก ไผ่ซาง ไผ่บง ไผ่รวก

การขยายพันธุ์
ต้นไผ่นิยมนำกิ่งนำกิ่งมาชำ ปลูกง่ายมากๆ

การดูแลรักษา
ดูแลเฉพาะช่วงแรกที่ หากลำต้นโตก็ไม่ต้องดุแลก็ได้ เก็บใช้ประโยชน์อย่างเดียว

ประโยชน์ของไผ่
คนไทยเราผูกพันกับไผ่มายาวนาน ไผ่ถูกใช้ตั้งแต่เกิดจนตาย สำหรับไผ่แล้วเป็นทั้งไม่ที่มีประโยชน์และไม่ที่เป็นมงคล เวลาจะสร้างสิ่งต่างๆ เราจะใช้ไผ่เป็นโครง และงานเครื่องใช้ในครัวของตนในยุคก่อนก็มีไผ่อยู่เกือบทุกอย่าง อย่างเช่นตระกล้า กระบุ้ง พัด ชั้นวางของ บ้าน เป็นต้น

สาระน่ารู้
ไผ่มีหลายชนิด การเลือกใช้ของคนในยุคก่อนก็ตามแต่จะใช้ เช่น ไผ่รวกมีความคม การทำคลอดของคนในยุคก่อนใช้ไผ่ตัดสายสะดือ ไผ่รวกใช้ในงานจักสาน ไผ่สีสุก นำมาประกอบในพิธีมงคลต่างๆ จะต้องมีไผ่สีสุกประกอบ นำมาจักสาน ไผ่บง ไผ่ซาง นำมาจักสาน และนำมาค้ำต้นไม้ และประโยชน์อีกมากมาย เพราะไผ่เป็นต้นไม้สาระพัดประโยชน์จริงๆ สำหรับเรื่องไผ่เดี๋ยวครั้งหน้าผมจะเพิ่มเติมให้แล้วกันนะครับ
สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

ใบ นำมาปรุงเป็นยาขับระดู
ยอดไผ่ ทำเป็นยาขับปัสสาวะ
ราก แก้ไตพิการ ขับปัสสาวะ แก้โรคหนองใน


               แกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง
หน่อไม้เป็นต้นอ่อนของไผ่ ไม้ไผ่เป็นทรัพยากรป่าไม้ที่มีค่ายิ่งต่อชีวิตและความเป็นอยู่ประจำวันของคนไทย โดยเฉพาะชาวชนบทจะมีความสัมพันธ์กับไม้ไผ่อย่างแน่นแฟ้น ทุกส่วนของไม้ไผ่นับตั้งแต่รากถึงยอดจะใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เริ่มตั้งแต่รากฝอยของไม้ไผ่ช่วยยึดติดไม่ให้ดินพังทลาย ต้นอ่อนของไผ่หรือหน่อไม้เป็นอาหารธรรมชาติของคนไทยมาช้านาน เหง้าสามารถนำไปทำเครื่องประดับ กิ่งก้าน มัดรวมกันสามารถใช้ทำเป็นไม้กวาดได้ และลำไม้ไผ่ใช้ทำบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทำเครื่องเรือน ทำด้ามเครื่องมือการเกษตร และภาชนะต่างๆ ทำเครื่องดนตรี เครื่องจักรสาน ใช้เป็นวัตถุ ดิบในอุตสาหกรรมผลินเยื่อกระดาษ การทำไหมเทียมตลอดจนไม้ไผ่นำมาทำเชื้อเพลิงได้ ส่วนที่ใช้เป็นอาหารได้แก่ หน่ออ่อนของไม้ไผ่หรือหน่อไม้ รับประทานเป็นผัก หน่อไม้เป็นผักที่มีมากในฤดูฝนพบในท้องตลาดทุกภาคของเมืองไทย ที่นิยมทำเป็นอาหารกันมากของชาวอีสาน คือ แกงหน่อไม้ใบย่านาง
เครื่องปรุง
  • หน่อไม้รวกเผา5 หน่อ (300 กรัม)
  • ใบย่านาง20 ใบ (115 กรัม)                                                       
  • เห็ดฟางฝ่าครึ่ง? ถ้วย (100 กรัม)
  • ชะอมเด็ดสั้น? ถ้วย (50 กรัม)
  • ฟักทองหั่นชิ้นพอคำ? ถ้วย (50 กรัม)
  • ข้าวโพดข้าวเหนียวฝานเอาแต่เมล็ด? ถ้วย (50 กรัม)
  • แมงลักเด็ดเป็นใบ? ถ้วย (50 กรัม)
  • ตะไคร้ทุบหั่นท่อน? 2 ต้น (60 กรัม)
  • น้ำปลาร้า3 ช้อนโต๊ะ (48 กรัม)
  • น้ำ3?4 ถ้วย (300?400 กรัม)
  • กระชายทุบ? ถ้วย (10 กรัม)
  • พริกขี้หนู10 เม็ด (10 กรัม)
  • ข้าวเบือ1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
  • น้ำปลา? 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
หมายเหตุ ข้าวเบือ คือ ข้าวเหนียวแช่น้ำประมาณ 20 นาทีขึ้นไป
วิธีทำ
  • โขลกข้าวเบือให้ละเอียด
  • ปอกเปลือกหน่อไม้ ตัดส่วนแก่ทิ้ง ตัดเป็นท่อนยาว 2 นิ้ว ต้มน้ำทิ้ง 2-3 ครั้ง ให้หายขื่น
  • โขลกใบย่านาง แล้วนำไปคั้นกับน้ำ ให้น้ำใบย่านางออก กรองใส่หม้อ
  • นำหม้อที่ใส่น้ำใบย่านางยกขึ้นตั้งไฟ ใส่หน่อไม้พอเดือดใส่กระชาย พริกขี้หนู ตะไคร้ ข้าวเบือ น้ำปลาร้า น้ำปลา ต้มสักครู่ ใส่ฟักทอง เห็ดฟาง ข้าวโพด เมื่อทุกอย่างสุกทั่วกันดี ใส่ชะอม ใบแมงลัก ยกหม้อลง
                                         
สรรพคุณทางยา
1. หน่อไม้ มีรสขมหวานร้อน
  • ราก รสอร่อยเอียนเล็กน้อย ใช้ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ
  • ใบไผ่ เป็นยาขับฟอกล้างโลหิตระดูที่เสีย
2. ย่านาง มีรสจืด ทั้งต้นนำมาปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ
  • ใบ ใช้เป็นยาถอนพิษ ปรุงรวมกับยาอื่นแก้ไข้
  • ราก แก้เบื่อเมา กระทุ้งพิษไข้ เป็นเมาสุรา ถอนพิษผิดสำแดง
3. เห็ดฟาง (เห็ดบัว) รสจืด ให้พลังงานและสารอาหารโปรตีนที่มีคุณค่าแทนเนื้อสัตว์ช่วยกระจายโลหิต
4. ชะอม รากชะอมมีสรรพคุณแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้แก้อาการปวดเสียวในท้องได้ดี ยอดชะอมใบอ่อน มีรสจืด กลิ่นฉุน (กลิ่นหอมสุขุม) ช่วยลดความร้อนของร่างกาย
5. ฟักทอง มีคุณค่าทางอาหารสูง บำรุงสายตา บำรุงร่างกาย
??? 6. ข้าวโพด รสหวานมัน เมล็ด เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมาน บำรุงหัวใจ ปอด เจริญอาหาร ขับปัสสาวะ
  • ?ราก ต้มกินรักษานิ่ว และอาเจียน
7. แมงลัก ใบสด รสหอมร้อน เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง ขับลม
8. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ
9. กระชาย รสร้อน แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้บิดมีตัว ขับพยาธิตัวกลม และพยาธิเส้นด้ายในเด็ก ใช้แต่งกลิ่น สี รสอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ไม่มีพิษ
10. พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยย่อย
คุณค่าทางโภชนาการแกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง รสชาติโดยรวมจะออกไปทางขมร้อน จากการใส่ผักหลายชนิดซึ่งมีทั้งรสร้อน รสขม จืดมัน จึงช่วยในการบำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับลม และช่วยเจริญอาหาร

                                                      หน่อไม้ฝรั่งปรุงรส

หน่อไม้ฝรั่งแผ่นปรุงรส อุดมด้วยคุณค่าโภชนาการ -1การเก็บ "หน่อไม้ฝรั่ง" ส่งขายทั้งตลาดภายในประเทศและส่งออกไปยังเพื่อนบ้าน
เกษตรกรชาวไร่ต้องตกแต่งตัดโคนที่แข็งแก่ออกทิ้ง เพื่อให้สวยงาม ดูแล้วน่ากิน
ซึ่งหลังรวบรวมผลิตผลเสร็จ จะเหลือ "โคนแข็ง" อยู่ เหลือทิ้งกลายเป็นขยะมากมาย
เพื่อลดปริมาณขยะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นสาเหตุทำให้โลกร้อน น.ส.จันทร์จีรา ทองร้อยยศ นักศึกษาชั้นปีที่ 4
ภาควิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี
จึงนำมาแปรรูปเป็น "หน่อไม้ฝรั่งแผ่นปรุงรส"

จันทร์จีรา บอกกับ "ทำได้ ไม่จน" ว่า ในหน่อไม้ฝรั่ง มีคุณสมบัติช่วยขับปัสสาวะ
มีวิตามิน B 3 บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดชื่น
และจากการที่พบเห็นว่าโคนหน่อไม้ฝรั่งในชุมชน
หลังตกแต่งเสร็จแล้วจะมีเหลือทิ้งจำนวนมาก รู้สึกเสียดาย อีกทั้งราคาซื้อขายค่อนข้างแพง
จึงคิดว่าน่าจะนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ในรูปแผ่นปรุงรส
เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ของกลุ่มคนที่ชอบทานของขบเคี้ยวเล่นในยามว่าง

โคนหน่อไม้ส่วนที่ตัดทิ้งนำมาใช้ประโยชน์ได้

ขั้นตอนกรรมวิธีการทำนั้นไม่ยุ่งยาก เริ่มจากนำโคนหน่อไม้ส่วนที่ตัดทิ้ง 500 กรัม มาล้างน้ำให้สะอาด
เลือกเอาเฉพาะที่ยังมีสีเขียวมาปอกเปลือกเอาส่วนที่แข็งออก จากนั้นนำไปลวกในน้ำร้อนจัดนาน 1-2 นาที
เสร็จแล้วแช่ในน้ำเย็นจัดปล่อยทิ้งไว้
...จากนั้นผัดเครื่องปรุงประกอบด้วย พริกไทยป่น 2.5 กรัม น้ำมันพืช 10 กรัม กระเทียม 15 กรัม
กระทั่งมีกลิ่นหอม จึงใส่เกลือ 5 กรัม น้ำตาล 7.5 กรัม ตักใส่รวมกับหน่อไม้ นำไปปั่นให้เข้ากัน

เสร็จแล้วนำถุงพลาสติกขนาด 12 x 18 นิ้ว ซึ่งทาด้วยน้ำมันพืช นำไปรีดเป็นแผ่นบางๆ ให้สม่ำเสมอกันแล้วแกะออกเป็นแผ่น นำไปอบลมร้อนในอุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 5 ชั่วโมง

เสร็จแล้วนำถุงพลาสติกขนาด 12 x 18 นิ้ว ซึ่งทาด้วยน้ำมันพืช นำไปรีดเป็นแผ่นบางๆ ให้สม่ำเสมอกัน
แล้วแกะออกเป็นแผ่น นำไปอบลมร้อนในอุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 5 ชั่วโมง
นำมาตัดเป็นแผ่นขนาด 1.5-1 นิ้ว
เพียงเท่านี้ก็จะได้ หน่อไม้ฝรั่งแผ่นปรุงรส ซึ่งมีลักษณะเหมือนสาหร่ายแผ่น ที่ขายตามท้องตลาด
...แล้วยังอุดมด้วยคุณประโยชน์ด้านโภชนาการ ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน ลดปริมาณคอเลสเทอรอลในเส้นเลือด
เพราะมีการปรุงแต่งกลิ่นรสชาติจากสมุนไพร ทั้งกระเทียมและพริกไทย
ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หากรับประทานในปริมาณมาก
 

8 ความคิดเห็น: