วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555


ข้าวมันไก่ที่อร่อยนั้น ตัวข้าวมันต้องนุ่มนวล ข้าวเป็นเมล็ดไม่บานเหมือนข้าวสวยปกติ แต่ไม่แข็งกระด้าง ความมันของข้าวพอดี ไม่ถึงขนาดเลี่ยน ที่สำคัญต้องมีกลิ่นหอมของ มันไก่ กระเทียม ขิง ผสมกัน ไก่ต้องต้มในเวลาที่พอเหมาะ หนังไก่ตึง เนื้อไก่มีสีขาวและไม่ยุ่ย ที่สำคัญที่สุดก็คือน้ำจิ้ม รสต้องเด็ดขาด เค็ม เปรี้ยว หวาน พอเหมาะ ขิงต้องใช้ขิงแก่จึงจะหอมและเผ็ด สรุปได้ว่าต้องอร่อยสัมพันธ์กันทั้ง ข้าวมัน เนื้อไก่ น้ำจิ้ม แต่ถ้าหาซื้อขิงแก่ไม่ได้ ก็ใช้ขิงอ่อนแทนได้ค่ะ

เครื่องปรุง (สำหรับ 5-6 คน)

ไก่สด 1 ตัว (( ถ้าได้ไก่ตอนยิ่งอร่อย ))
ตับไก่ 2-3 พวง
เลือดไก่ 1 ก้อน
ข้าวหอมมะลิเก่า 3 ½ ถ้วย
น้ำมันไก่ หรือ น้ำมันพืช ½ ถ้วย
แตงกวา 1-2 ลูก
ผักชี นิดหน่อย

วิธีทำ

1). ล้างไก่ทั้งข้างนอกและข้างในตัวไก่ ให้สะอาด นำตัวไก่มาวางในกะละมัง โดยให้ส่วนหัวของไก่ตั้งขึ้น น้ำในช่องท้องจะได้ไหลออกมา ทิ้งไว้สักพัก พอน้ำที่หนังไก่เริ่มแห้ง หรือจะใช้ผ้าช่วยซับให้แห้งก็ได้ ใช้เกลือป่นทาบาง ๆ ให้ทั่วตัวไก่ ล้วงเข้าไปในตัวไก่เอาเกลือทาด้วย ส่วนตับไก่ ล้างสะอาด แล้วเคล้าเกลือพักไว้

2). ตั้งน้ำ (กะปริมาณของน้ำที่คาดว่าจะท่วมตัวไก่) ในหม้อขนาดที่ใส่ตัวไก่ลงได้ทั้งตัว พอน้ำเดือด ก็ใส่ตัวไก่ลงไป พอน้ำเริ่มเดือดปุด ๆ ใหม่อีกครั้ง ให้ใส่น้ำแข็งก้อนลงไปในหม้อต้มไก่ 4-5 ก้อน ((ให้ใส่ทุกครั้งที่น้ำเริ่มเดือด จนกว่าไก่จะสุกได้ที่ )) ใช้ไฟกลาง และต้มประมาณ 45 นาที คอยช้อนฟองทิ้งด้วย เพื่อให้น้ำซุปใส พอไก่สุกก็กลับอีกด้านหนึ่งลงไปต้มด้วย ถ้าชอบตับไก่ ก็ใส่ลงไปต้มพร้อมกับไก่ได้เลย ส่วนเลือดไก่ที่ทำเป็นก้อนและสุกมาแล้วนั้น ใส่ตอนหลังสุด

3). พอไก่สุก ตักออกมาจากหม้อใส่ภาชนะ ทาหนังไก่ด้วยน้ำมันไก่ หรือน้ำมันพืช เพื่อไม่ให้หนังไก่แห้งไว้

4). น้ำซุปในหม้อแบ่งออกมาพอหุงข้าว ตามส่วนของข้าว + เพิ่มน้ำซุปอีก ¼ ถ้วย ( เช่น ข้าว 1 ถ้วย ก็ใส่น้ำซุป 1 ¼ ถ้วย ) แล้วตั้งทิ้งไว้ให้เย็น ซาวข้าวหอมมะลิเก่า 2-3 ครั้ง เทใส่กระชอนทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ (จะช่วยเขย่ากระชอนให้น้ำสะเด็ดเร็ว ๆ ด้วยก็ได้) ตั้งกะทะใส่มันไก่ ลงไปเจียวจนน้ำมันออกมา หรือจะใช้น้ำมันพืชก็ได้ พอน้ำมันเริ่มร้อน ใส่กระเทียมที่ทุบพอแตกลงไปผัดพอหอม แต่ไม่ต้องให้เหลือง เทข้าวสารที่สะเด็ดน้ำแล้วลงไปผัดกับน้ำมันและกระเทียม ใส่รากผักชี โรยพริกไทยนิดหน่อย ผัดเคล้าให้ข้าวสารเข้ากันจนทั่วสักพัก เทข้าวสารที่ผัดเสร็จแล้วลงในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ใส่น้ำซุปที่แบ่งไว้และเย็นแล้วลงไป คนแล้วชิมรส ให้ออกเค็มนิดหน่อย (ถ้าไม่เค็มเติมเกลือลงไปนิดหน่อยได้) ปอกขิงแก่ 1 แว่น ล้างสะอาด ทุบให้แตกหย่อนลงไปในหม้อหุงข้าวด้วย เปิดสวิทช์หุงข้าวตามปกติ

5). พอข้าวสุก ให้ใช้ทัพพีคุ้ยข้าวให้ร่วนซุย กลับข้าวจากด้านล่างขึ้นด้านบน แล้วปล่อยอุ่นทิ้งไว้ในหม้อ เวลาเสริฟ์ จะเสริฟ์แบบร้านขายข้าวมันไก่ ก็ตักข้าวใส่จานให้พูน หรือจะตักใส่ถ้วยขนาดพอเหมาะ กดพอแน่น คว่ำถ้วยลงบนจาน เคาะก้นถ้วยให้ข้าวหลุดออกมา เลาะเนื้อไก่วางบนเขียง แล้วใช้มีดตบให้แบน หั่นชิ้นพอทานวางบนข้าวมัน หั่นตับ และเลือดไก่ เป็นชิ้นบาง ๆ วางเรียงที่ข้างจาน ซอยแตงกวาแฉลบขวางลูก โรยผักชี ด้านบนเนื้อไก่ เสริฟ์พร้อมน้ำจิ้ม + น้ำซุป หรือจะเสริฟ์แบบแยกข้าวมัน 1 จาน เนื้อไก่ 1 จานก็ได้

เครื่องปรุงน้ำจิ้ม

เต้าเจี้ยว ½ ถ้วย
ซีอิ้วขาว ¾ ถ้วย
น้ำส้มสายชู ½ ถ้วย
พริกขี้หนู ¼ ถ้วย
น้ำตาลทราย ¾ ถ้วย
กระเทียมปอกเปลือก ½ ถ้วย
ขิงแก่หั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ½ ถ้วย
รากผักชี 2-3 ราก

วิธีทำน้ำจิ้ม

นำส่วนผสมทั้งหมด ยกเว้นเต้าเจี้ยว ใส่ลงในโถปั่น เปิดสวิตช์ปั่นส่วนผสมทั้งหมดให้ละเอียดเข้ากัน ปิดเครื่อง ใส่เต้าเจี้ยวลงไป เปิดสวิตช์เครื่องอีกครั้ง ปั่นสักประมาณ 5 วินาที ชิมรสตามชอบ ให้ออกเค็ม เปรี้ยว หวาน ทำเสร็จแล้วเก็บเข้าตู้เย็นทานได้เป็นเดือน สำหรับคนที่ชอบรสจัด เวลาเสริฟ์ก็เติม กระเทียม + ขิง สับละเอียด พริกขี้หนูซอยละเอียด

วิธีทำน้ำซุป

น้ำซุปส่วนที่เหลือ
จากหุงข้าวแล้ว ให้เติมรากผักชี ทุบพอแตก 2-3 ราก , กระเทียมที่แกะเปลือกนอกออก ล้างสะอาด 3-4 กลีบใหญ่, พริกไทยเม็ด 10 เม็ด , พอน้ำเดือด ก็ใส่ฟักหรือแฟงที่ปอกเปลือก ควักไส้ออก + ล้างน้ำ หั่นเป็นชิ้นใหญ่ ๆ ขนาดประมาณ 5 ซม. ลงไปในหม้อ ต้มจนฟักสุก ใส่ตังฉ่ายสักหยิบมือ ปรุงรสด้วยซีอิ้วขาว ตอนเสริฟ์ก็โรยหน้าด้วยผักชีหั่นหยาบ ๆ
ที่ญี่ปุ่นหาซื้อไก่ทั้งตัวได้ยาก เต่าก็เลยใช้ส่วนที่เป็นน่องติดสะโพกแทน

รูปด้านซ้าย...เป็นไก่ที่ล้างแล้วซับน้ำแห้งแล้ว ทาเกลือให้ทั่วชิ้นไก่

รูปด้านขวา....เอาลงหม้อที่ต้มน้ำเดือดรอเอาไว้...ไก่ที่นี่ ส่วนใหญ่จะผ่านการแช่แข็งมาแล้ว น้ำมันจะเหลือน้อย เต่าก็จะเอาหนังไก่เติมลงไปต้มในน้ำซุปด้วยค่ะ ((หนังไก่นั้น...มาจากตอนทำลูกชิ้นไก่ ซึ่งใช้เนื้อล้วน ๆ ก็จะเลาะเอาหนังเก็บเอาไว้ใช้ในตอนนี้นะค่ะ))


ระหว่างที่ต้มไก่ ก็คอยเอาน้ำแข็งเติมลงไป ทุกครั้งที่น้ำเริ่มเดือด การใส่น้ำแข็งลงไปนั้น ทำให้ต้มได้เปื่อยเร็วขึ้น และหนังไก่มีสีขาว ไม่แตกเวลาที่ต้มนะค่ะ


น่องไก่ที่ติดสะโพกนั้น...ใช้เวลาต้มประมาณ 25-30 นาที ก็สุกแล้วค่ะ

รูปด้านซ้าย....ตักชิ้นไก่ขึ้นมา เอาน้ำมันพืชทาให้ทั่วหนังไก่

รูปด้านขวา....ทาน้ำมันเรียบร้อยแล้ว กับตับไก่ที่ต้มสุกแล้วเช่นกัน


พอน้ำซุปเริ่มเย็น ก็มาซาวข้าวหอมมะลิเก่าเตรียมเอาไว้

สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยู่ญี่ปุ่นนั้น .... ใช้ข้าวญี่ปุ่นได้ค่ะ โดยนำข้าวมานวดและซาวให้สะอาด แช่น้ำทิ้งไว้สัก 30 นาที หลังจากนั้นก็นำมาใส่กระชอนให้สะเด็ดน้ำ เวลาหุงก็ใช้ส่วนน้ำซุปตามปกติ (เพราะข้าวญี่ปุ่นจะแฉะง่าย) ตั้งโปรแกรมหม้อหุงข้าวที่ 焼込み หรือ おこわ แล้วก็กดสวิทช์หุงได้เลย

วันนี้...พอดีมีข้าวหอมมะลิเก่าเหลืออยู่ ก็เลยใช้ข้าวไทย

รูปนี้...เป็นข้าวที่ซาวสะอาดใส่กระชอนให้น้ำสะเด็ดเตรียมเอาไว้ค่ะ


คราวนี้...ก็นำกะทะตั้งไฟ ใส่น้ำมันพืชลงไป ((ที่นี่ไม่มีมันไก่เหมือนกันค่ะ)) พอน้ำมันร้อนก็ใส่กระเทียมที่ทุบพอแตกลงไปผัดพอหอม รูปด้านซ้ายค่ะ

หลังจากนั้น...ก็ใส่ข้าวสารที่เตรียมไว้ลงไปผัดให้น้ำมันเข้ากับข้าวดี รูปด้านขวา


พอผัดข้าวได้ที่แล้ว ก็เทลงใส่หม้อหุงข้าว เติมน้ำซุปที่เย็นแล้ว ตามอัตราส่วน กดสวิทช์หุงข้าวได้ตามปกติเลยค่ะ


ระหว่างที่รอข้าวสุกนั้น....ก็มาทำน้ำจิ้มเตรียมเอาไว้เลยค่ะ

รูปด้านซ้าย...เป็นเครื่องปรุงที่เตรียมเอาไว้

รูปด้านขวา.....เอาใส่โถ เติมน้ำส้มสายชู , ซีอิ้วขาว , น้ำตาลทราย แล้วปั่นจนเข้ากันดีแล้วค่ะ เต่าใช้เครื่องปั่นแบบนี้สะดวกที่สุด ไม่ต้องเก็บล้างเยอะ....ความขี้เกียจ...อิอิ


พอปั่นละเอียดแล้ว ก็ใส่เต้าเจี้ยวลงไปปั่นต่อ....รูปด้านซ้าย

หลังจากนั้น..ก็ชิมรสตามชอบเลยค่ะ ให้ออกเปรี้ยว เค็ม หวาน นำ น้ำจิ้มที่ปั่นได้ที่แล้ว ตามรูปด้านขวา


ก่อนทำน้ำจิ้ม ก็ต้มซุปเตรียมไว้ พอน้ำจิ้มเสร็จ ข้าวก็สุก เตรียมหม่ำได้เลยค่ะ

เสริฟ์แบบแยกข้าว กับเนื้อไก่

ต้องขอขอบคุณ

คุณ เต่าญี่ปุ่น

สมุนไพรต่างๆจากข้าวมันไก่

ขิง
สรรพคุณ
  • เหง้า : รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด เจริญอากาศธาตุ สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ [2]
  • ต้น : รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
  • ใบ : รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ
  • ดอก : รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ
  • ราก : รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด
  • ผล : รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ
  • แก่น : ฝนทำยาแก้คัน
กระเทียม
    สรรพคุณทางยา
    1. รักษาโรคบิด
    2. ป้องกันมะเร็ง
    3. ระงับกลิ่นปาก
    4. ลดระดับไขมัน คอลเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือด
    5. ขับพิษ และ สารอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด
    6. มีกลิ่นที่ฉุนจึงสามารถไล่ยุงได้ดี
    7. ขับลม

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

การทำน้ำยาเอนกประสงค์ 3 สูตร

การทำน้ำยาอเนกประสงค์ชีวภาพอัญชัน
ใช้ซักผ้า-ล้างจาน-อาบ-ล้างหน้า
วันก่อนน้ำยาซักผ้าหมดพอดี จึงได้ทำใหม่ สูตรนี้เราทำแบบพอเพียงคือค่าใช้จ่ายน้อย ไม่เกิน 100 บาท ทำได้ประมาณ 8-10 ลิตรสามารถนำไปใช้ล้างจาน ซักผ้า ล้างหน้า หรืออาบน้ำ ได้ ประหยัดได้หลายทาง แต่ขอบอกก่อนว่าสูตรนี้ไม่มีกลิ่นน้ำหอมเนื่องจากเราเน้นเรื่องความพอเพียง
และหลีกเลี่ยงสารเคมีที่ไม่จำเป็น ลองคำนวณการลดค่าใช้จ่ายดูเช่น

1. ไม่ต้องจ่ายค่าน้ำยาล้างจาน
2. ไม่ต้องจ่ายค่าสบู่อาบน้ำ (ใช้แล้วผิวนุ่มกว่าใช้สบู่)
3. ลดการจ่ายค่าน้ำยาซักผ้าเดือนละ 300 บาท เหลือเพียง 100 บาท
ได้น้ำยาประมาณ 12 ลิตร รวมแล้วต่อเดือนเราจะประหยัดเงินได้เกือบ 400 บาทเชียวนะ
ส่วนผสมคือ1. ตัวน้ำยาซักผ้าหรือซักล้างใช้สาร N 70 ราคากิโลกรัมละ 70-80 บาท
2. เกลือเพื่อใช้ปรับความหนืดความข้น ความเหลวของน้ำยาประมาณ 1 ก.ก. (12 บาท)

3. น้ำชีวภาพอัญชันที่เราหมักได้จากการแนะนำคราวที่แล้ว สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย และให้สีสวย โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารกันบูด ประมาณ 1 แก้ว (ขวดน้ำผลไม้ 250 มล.) 4. น้ำเปล่า 8-10 ลิตร
ขั้นตอนการทำ1. เตรียมส่วนผสมทั้ง 4 อย่าง
2. เท N 70 ใส่ลงในถังใช้ไม้พายคนเบาๆไปทางเดียวกัน ให้ขึ้นขาวฟู ถ้าหนืดเกินไป รู้สึกหนักมือให้ค่อยๆโรยเกลือลงไป (หรืออาจผสมน้ำเกลือใช้แทนได้)
3. จากนั้นค่อยๆใส่น้ำชีวภาพอัญชันเพื่อให้มีสีสวยงาม
4. ทีนี้ก็ทำสลับกันเรื่อย ถ้าหนืดเหนียวให้เติมเกลือ แล้วเติมน้ำ ถ้าเหลวไปจากการเติมน้ำมากก็เติมเกลือ จะทำให้หนืดข้นเช่นเดิม ทำเช่นนี้ไปเรื่อยจนส่วนผสมที่เตรียมไว้หมด
สุดท้ายตรวจดูความเหลวตรงความพอใจของเรา ทิ้งไว้ 1 คืนอาจทำให้หนืดขึ้นอีกเล็กน้อย ทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัว รุ่งเช้าน้ำยาเอนกประสงค์ที่ได้ จะใสและไม่มีฟอง จากนั้นให้เรากรอกใส่ภาชนะที่ต้องการเก็บไว้ใช้ เราจะได้น้ำยาสีสวย สีม่วง-อมชมพู
จากการใช้มาอย่างต่อเนื่อง น้ำยาอเนกประสงค์อัญชันจะมีการเปลี่ยนสีเนื่องจากเราไม่ใส่ผงสีในขั้นตอนการทำ
ดังนั้นสีจึงซีดง่ายกลายเป็นสีขาว
วิธีการแก้ไข : ผู้เขียนเติมหัวเชื้อชีวภาพอัญชันที่หมักไว้ลงไป 1 หยดหรือมากกว่า แล้วแต่ชอบ เขย่าให้เข้ากัน ก็ได้สีสวยดังเดิม

สรุปเปรียบเทียบ - จากการใช้ได้เห็นความแตกต่างคือ
- หากลืมตากผ้าในทันที ทิ้งไว้หลายชั่วโมง ผ้าก็ไม่เหม็นทั้งนี้เนื่องจากน้ำชีวภาพอัญชัน
มีสรรพคุณดับกลิ่น กำจัดแบคทีเรีย/จุลินทรีย์ตัวร้าย
- เมื่อใช้ล้างจาน มือจะไม่ลอกเป็นขุยเหมือนใช้น้ำยาล้างจานตามท้องตลาด เนื่องจากเราไม่ใช้สารขจัดคราบ หากในบางจุดของภาชนะยังมี
ความมันอยู่ ให้เทน้ำยาชีวภาพอัญชันลงไป แล้วล้างเฉพาะที่ ล้างทำความสะอาดอีกครั้ง จะพบว่าขจัดความมันได้ดี

ที่สำคัญคือ เราเกิดความภาคภูมิใจที่เราสามารถนำธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้ ไม่ปล่อยให้เป็นขยะ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งการทำความดีเพื่อในหลวงค่ะ

สูตรน้ำยาล้างจาน สูตรแรก
เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทำน้ำยาล้างจาน
- กระป๋องพลาสติกมีฝาปิดความจุประมาณ 1 ลิตร 1 ใบ
- ตะกร้ามีรูใบเล็กขนาดใส่ในกระป๋องพลาสติกได้ 1 ใบ
- เครื่องชั่งน้ำหนักแบบมีจานรอง 1 เครื่อง
- ถ้วยตวงน้ำ 1 ใบ
- ช้อนสำหรับคน 1 คัน
- ผ้าขาวบางขนาด 15X15 นิ้ว 1 ผืน
- ช้อนตวง 1 ชุด
วัสดุทำน้ำยาล้างจาน- เนื้อสับปะรดสับ 300 กรัม
- น้ำตาลทรายไม่ฟอกสี 2 ช.ต.
- หัวเชื้อ EM สด 2 CC.
- น้ำสะอาดไม่มีคลอรีน (น้ำประปาพักไว้ 1 คืน ก่อนนำมาใช้) 50 CC.
- ใบชา 1 หยิบมือ
วิธีทำน้ำยาล้างจานล้างกระป๋องและตะกร้าพลาสติกทิ้งไว้ให้แห้ง นำตะกร้าใส่ในกระป๋องพลาสติก
ชั่งเนื้อสับปะรดสับ 300 กรัม โดยวางถุงพลาสติกบนจานรองก่อน แล้วนำไปเทใส่ในตะกร้า
น้ำตาลทรายไม่ฟอกสี น้ำสะอาด หัวเชื้อ EM สด และใบชา ชั่งและตวงตามสัดส่วนนำมาผสมเข้าด้วยกัน คนน้ำตาลจนละลายหมด เทลงในตะกร้าสับปะรด คนให้เข้ากันปิดฝาทิ้งไว้ 15 วัน (ในที่มีแสงน้อย ที่อุณหภูมิห้อง)
นำน้ำสกัดชีวภาพที่ได้มากรองด้วยผ้าขาวบางกรอกใส่ขวดไว้ใช่ ส่วนกากนำไปผสมดินใช้ปลูกต้นไม้
น้ำยาล้างจานสูตรนี้ระยะแรกๆ สีจะขุ่นต่อมาจะตกตะกอน กลิ่นจะฉุนคล้ายไวน์มากขึ้นเรื่อยๆ และสีจะใสน่าใช้ยิ่งขึ้นด้วย
วิธีใช้น้ำยาล้างจานใช้ล้างจานโดยไม่ต้องผสมน้ำ ใช้เหมือนน้ำยาล้างจานทั่วไป ถ้าล้างจานจำนวนมากควรแช่จาน ในน้ำยาล้างจานผสมน้ำสัดส่วนน้ำยาล้างจาน 1 ส่วน น้ำ 5 ส่วนไว้ก่อน ประมาณ 20 นาทีก่อนล้างเพื่อให้สะอาดทั่วถึง แล้วล้างน้ำสะอาดจนกว่าแน่ใจว่าสะอาค ควรตากจานให้แห้งก่อนนำไปใช้ เพื่อป้องกันการตกค้างของจุลินทรีย์ในหยดน้ำที่เกาะอยู่บนจาน
เปลือกที่ปอกออกนำไปหมัก เป็นน้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์ ทำปุ๋ยน้ำบำบัดกลิ่นและน้ำเสีย เพราะไม่มั่นใจว่าจะมีสารเคมี หรือปุ๋ยตกค้างอยู่หรือไม่จึงไม่ควรนำมาล้างจาน

น้ำยาล้างจานสูตรนี้ สามารถใช้เป็นน้ำยาล้างมือได้อย่างปลอดภัยทำให้มือนุ่ม ส่วนกากที่เหลือนำไปหมักใหม่ได้อีก โดยใช้สัดส่วนเหมือนเดิม หรือจะนำไปผสมดินปลูกต้นไม้ก็ได้
 



สูตรน้ำยาล้างจาน สูตรสอง

วัสดุทำน้ำยาล้างจาน

1.N70หรือหัวเชื้อ   1 กิโลกรัม
2.F24หรือสารขจัดไขมัน  ครึ่งกิโลกรัม ถ้าไม่มีไม่ต้องก็ได้ครับ
3.เกลือ ประมาณ ครึ่งกิโลกรัม ถึง1กิโลกรัม หรือ บางที่เรียกว่าผงข้น
4.น้ำผลไม้รสเปรี้ยว (ที่โรงเรียนทำใช้มะกรูดต้มกับน้ำ)ประมาณ 4 ลิตร
5.น้ำสะอาด ประมาณ7 ลิตร อันนี้แล้วแต่ความข้นครับหากยังข้นก็เติมได้อีกแต่ถ้ามากไปก็ใช้ไม่ได้บางที่ใช้น้ำขี้เถ้าผสมด้วย แต่ไม่มีก้ไม่ต้องครับ

วิธีทำน้ำยาล้างจานเทN70กับF24ลงในภาชนะกวนไปในทิศทางเดียวกันให้เข้ากันจนเป็นครีมขาวๆจากนั้นเติมน้ำผลไม้ลงไปกวนไปเรื่อยๆหากไม่ข้นก็ค่อยๆเติมเกลือทีละน้อยสังเกตุดูหากข้นมากก็เติมน้ำลงไปสลับกันจนน้ำหมดทิ้งใว้ 1 คืนจนฟองยุบแล้วตักใส่ภาชนะใว้ใช้ ต้นทุนประมาณ 140 บาท ครับ ส่วนปริมาณที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้น้ำไปเท่าใด

อย่าคนแรงเพราะจะทำให้มีฟองเกิดมาก

N70คือสารลดแรงตึงผิวประจุลบ มีหน้าที่เป็นสารทำความสะอาดต่างๆมีชื่อเต็มๆว่าTexapon N70 มีชื่อทางเคมีว่า Sodium Laurylether Sulfate N70(โชเดียมลอริวอีเทอร์ซัลเฟตN70)มีชื่อย่อๆว่าSLES

ส่วนF24คือสารขจัดไขมันหรือLAS(linearalkylbenZene Sulfonate)

จะใช้น้ำมะกรูดหรือมะนาวหมักก็ได้ครับใส่ 4 ลิตร

*วิธีทำน้ำมะกรูดหรือมะนาวหมัก

หั่นมะกรูดหรือมะนาว 4 กิโลกรัม เป็นสองซีก ใส่น้ำตาล 1 กิโลครึ่ง น้ำ10 ลิตร หมัก 30วัน กรองเอาแต่น้ำมาใช้

สูตรน้ำยาล้างจาน สูตรสาม

วัสดุส่วนผสมทำน้ำยาล้างจาน

1 WATER 300 กรัม
2 LA 40 19.84 กรัม
3 หัวแชมพู 67.46 กรัม
4 COMPERLAN KD 3.97 กรัม
5 SCPG 520      0.79 กรัม
6 PERFUME LEMON 0.40 กรัม
7 เกลือ  7.54 กรัม

วิธีทำน้ำยาล้างจาน
1. ละลาย LA 40 กับน้ำ คนจนละลายให้เข้ากัน   (ใช้ความร้อนได้เล็กน้อยเพื่อให้ละลายง่ายขึ้น)
2. เติมหัวแชมพู + COMPERLAN KD ลงไปคนให้เข้ากัน จนแน่ใจว่าเข้ากันดี
3. เติม SCPG 520  ลงไปคนให้เข้ากัน
4. เติมกลิ่นมะนาว ลงไปคนให้เข้ากัน
5. เติมเกลือที่ละลายด้วยน้ำร้อน คนให้เข้ากัน (จะหนืดขึ้น)    ก็จะได้น้ำยาล้างจานตามต้องการ

สูตรน้ำยาล้างจาน สูตรสี่

วัสดุส่วนผสมทำน้ำยาล้างจาน
1  น้ำสะอาด  10 ลิตร    
2  โซฮาแลบ30  -  ลดคราบ 1.5  กก.
3  N-70 - ทำความสะอาด  1  กก.
4  เอ็มอี - ทำให้หนืด 160 กรัม
5  แอมโมเนียม คลอไรด์  - ผงข้น 100 กรัม
6 ผงกันบูด  15 กรัม
7  สี -เหลืองหรือเขียว ตามสมควร
8 กลิ่นมะนาว ตามสมควร

วิธีทำน้ำยาล้างจาน           ผสมโซฮาแลบ30 และ แอมโมเนียมคลอไรด์ เข้าด้วยกัน  คนจนส่วนผสมเป็นสีขาว แล้วจึงเติมเอ็มอี
และ เอ็น70ลงไป  ค่อยๆเติมน้ำ กวนช้าๆไปจนเข้ากันดี แล้วเติมกลิ่นและสีดูความเข้มตามใจชอบ  ทิ้งไว้จนหมด
ฟอง(ประมาณ1-2 ชั่วโมง) จึงนำไปบรรจุขวดตามต้องการ







น้ำหมักชีวภาพสูตรมะกรูด

ส่วนประกอบ

                1. มะกรูดแก่                         3              กิโกกรัม
                2. น้ำตาลทรายแดง              1              กิโลกรัม
                3. น้ำเปล่า                             10           ลิตร
วิธีทำ
                1. ใส่ตาลทรายแดง และน้ำลงไปในถังหมักคนให้ละลาย
                2. นำผลมะกรูดล้างให้สะอาด หั่นมะกรูดตามขวางหรือเป็นแว่น
                3. ใส่มะกรูดที่หั่นแล้วลงในถังหมัก ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 3 เดือน จึงนำมาใช้ได้
ข้อควรระวัง    ควรเก็บไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดดหรือถูกฝน
  
น้ำยาล้างจานจากน้ำหมักมะกรูด
ส่วนประกอบ
                1. N70                                    1              ส่วน
                2. เกลือ                                  1              กิโลกรัมต่อน้ำ 2.5 ลิตร
                   (นำมาทำน้ำเกลือ โดยต้มน้ำเกลือ 1 ก.ก.ต่อน้ำ 2.5 ลิตร พอเกลือละลายกรองเอาแต่น้ำสะอาด)
                3. น้ำหมักมะกรูด 1              ลิต ร+ น้ำ 6 ลิตร
วิธีทำ
                1. นำ N70 มาใส่ภาชนะ ใช้ไม้พายคนให้ละลายโดยคนไปทางเดียวกัน
                2. คอยใส่น้ำเกลือทีละน้อย ๆ พร้อมกับคนไปเรื่อย ๆ จนหมด
                3. เติมน้ำหมักมะกรูดเช่นเดียวกับเติมน้ำเกลือ พร้อมกับคนไปเรื่อยๆ จนหมด แล้วตั้งทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้ฟองหมดจึงบรรจุใส่ขวด
ประโยชน์   ใช้ล้างจาน , ใช้ซักผ้า , ใช้ชะล้างอื่น ๆ

7. ส่วนสรุป : การทำน้ำหมักชีวภาพจากผลมะกรูดก็เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาไทยที่มีการพัฒนาวิธีการใช้ประโยชน์จากมะกรูดอย่างต่อเนื่อง การทำยาล้างจานจากน้ำหมักมะกรูดก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ไม่ต้องลงทุนมาก นอกเหนือจากนำมาใช้ในครัวเรือนแล้วยังสามารถนำมาจำหน่ายในชุมชนทำให้มีรายได้เพิ่มและยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีก  สำหรับเกษตรกรอีกหลาย ๆ คนจะลองหันมาทำน้ำยาล้างจานจากน้ำหมักมะกรูดดูบ้างก็ไม่เป็นการผิดกติกาอย่างใด  ซึ่งถ้าหากสนใจผลิตภัณฑ์จากน้ำหมักมะกรูดหรือต้องการจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ นางถนอมสิน  จูงกลาง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์สาธิตการตลาดบ้านจันดุม หมู่ที่  6  ตำบลใหม่  อำเภอโนนสูง   จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์ 08-17899022

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไม้ไผ่กับวัฒนธรรม
 
           คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รักธรรมชาติ ยิ้มแย้มแจ่มใสใจดี รักศิลปะ เสียงเพลงและดนตรี มีนิสัยอ่อนโยนอ่อนน้อมถ่อมตนและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดีมีภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่ใกล้มือในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือใช้สอยในชีวิตประจำวันได้อย่างสวยงามโดยเฉพาะไม้ไผ่ เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์โดยตรงหรือแปรรูปให้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต คนไทยรู้จักคุ้นเคยและมีความผูกพันอย่างชนิดแยกไม่ออกมาตั้งแต่เกิดจนตาย กลายเป็นวัฒนธรรมสืบทอดกันต่อมา    "ไผ่" เป็นชื่อพันธุ์ไม้พวกหนึ่ง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ กล่าวว่า ไผ่เป็นชื่อพรรณไม้พวกหนึ่ง ( Bambusa spp.) อยู่ในวงศ์ Graminese เป็นกอ ลำต้นสูง และเป็นปล้องๆ มีหลายชนิดมากกว่า ๑,๒๕๐ ขนิด ๕๐ ตระกูล เช่น ไผ่จีน ไผ่ป่า ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ดำ เป็นต้น ไม้ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะเฉพาะที่แปลกไปจากพืชและพันธุ์ไม้อื่นๆ เพราะแม้ว่าไผ่มีลักษณะที่ควรจะเป็นต้นไม้ แต่ไผ่กลับถูกจัดเป็นหญ้าประเภทหนึ่ง และเป็น "หญ้ายักษ์" เพราะลำต้นสูง กลวงเป็นปล้องๆ หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าใบไผ่คล้ายกับใบหญ้า ไผ่ขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ เพราะหนึ่งในร้อยปีไผ่จึงอาจจะออกดอกสักครั้ง และหลังจากออกดอกแล้วก็ตาย ไผ่จะเติบโตอย่างรวดเร็วและจะโตเต็มที่ภายในสองเดือน และจะคงขนาดเช่นนั้นไปตลอดชีวิตของมัน ลำต้นของไผ่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๐.๗ - ๗ นิ้ว สูง ๑ - ๖๐ ฟุต ไผ่ขึ้นได้ทั้งในบริเวณที่มีอากาศอบอุ่นและอากาศเย็นต่ำกว่าศูนย์องศา ไผ่จึงเป็นไม้ที่มีมากในบริเวณเอเซียและแปซิฟิค อเมริกาใต้บางท้องถิ่น
คุณลักษณะพิเศษของ "ไผ่"
           ๑.ไผ่โตเร็วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ภายในเวลา ๑ - ๔ ปี และใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่รากไผ่เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นยารักษาโรคได้ หนิอไผ่หรือหน่อไม้ใช้ทำอาหาร กาบหรือใบไผ่ใช้ห่ออาหารหรือหมักปุ๋ย กิ่งและแขนงใช้ทำรั้ว ลำต้นใช้ประโยชน์ได้สารพัดอย่าง ตั้งแต่นำมาใช้ปลูกสร้างที่พักอาศัยและแปรรูปเป็นเครื่องจักสานและเครื่องมือเครื่องใช้นานาชนิดจนถึงนำมาใช้เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย
           คังนั้นชาวนาจึงมักปลูกไผ่ตามหัวไร่ปลายนา และปลูกไว้รอบๆบ้าน เพื่อใช้เป็นรั้วบ้านและป้องกันพายุ เพราะไม้ไผ่จะลู่ตามลมไม่หักโค่นเหมือนไม้อื่น หากปลูกไผ่ไว้ตามริมแม่น้ำลำคลอง จะช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำไม่ให้ดินพัวทะลายง่าย นอกจากนี้ไผ่ยังใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้ด้วย


            ๒. ไผ่มีลำต้นตรงและกลวงคล้ายหลอดและมีปล้องข้อคั่นเป็นปล้องๆ จึงใช้เป็นภาชนะประเภทกระบอก ถ้วย สำหรับใส่ของเหลว เช่นใช้เป็นกระบอกน้ำ กระบอกน้ำตาล ซึ่งใช้กันทั่วไปในหลายประเทศ ลักษณะพิเศษของไม้ไผ่นี้สามารถนำมาใช้สร้างอาคารที่พักอาศัยได้ โดยนำมาทำเป็นโครงสร้างของบ้านเรือน ใช้เป็นพื้นเรือน ฝาเรือน ใช้ทำรางน้ำ ท่อน้ำ และทำเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ยได้ดีอีกด้วย

           ๓. เนื้อไผ่เป็นเส้นตรงมีความยืดหยุ่นในตัวเองและสามารถคินตัวสู่สภาพเดิมได้ เมื่อนำไม้ไผ่มาแปรรูปก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ดี เพราะเนื้อไม้ไผ่เป็นเส้นตรง นำมาจักเป็นปื้นบางๆ หรือเหลาเป็นเส้นได้ดี จึงใช้ทำเครื่องจักสานนานาชนิดได้ ทั้งเครื่องจักสานที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรงมั่นคง สำหรับใช้งานหนักจนถึงเครื่องจักสานขนาดเล็กที่มีความปราณีตบอบบาง และเพราะคุณสมบัติในที่มีความยืดหยุ่น จึงเหมาะที่จะใช้เป็นเครื่องหาบหรือหาม เช่น คาน คันกระสุน คันธนูและเมื่อแปรรูปเป็นตอกก็ยังมีความยืดหยุ่นคืนรูปทรงเดิมได้ง่ายจึงทำให้ภาชนะจักสานที่ทำจากไผ่มีคุณลักษณะพิเศษต่างไปจากภาชนะที่ทำจากวัตถุดิบชนิดอื่น
           ๔. ไม้ไผ่มีความสวยงามในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นผิวที่มีสีต่างๆ กันเมื่อแห้งแล้วมักจะมีสีเหลืองอยู่เช่นนั้นตลอดไป ด้วยคุณสมบัติพิเศษนี้ ชาวเอเซียจึงใช้เหล็กหรือโลหะเผาไฟจนร้อนแล้วเขียนตัวอักษรหรือลวดลายลงบนผิวไม้ไผ่ ( Bamboo Pyrographic ) เช่นจีนจารึกบทกวีบนผิวไม้ไผ่ ชาวญี่ปุ่นใช้เขียนชื่อเจ้าของบ้านแขวนไว้หน้าบ้านและจารึกบทกวีแขวนไว้สองข้างประตูเรือนน้ำชา ( Tea House ) ชาวเกาหลีใช้เขียนเป็นลวดลายบนเครื่องใช้ เช่นเดียวกับที่ชาวบาตัก ( Batak) ในประเทศอินโดนีเซีย ใช้เหล็กเผาไฟ ขูด ขีด เขียน ลงบนกระบอกไม้ไผ่ สำหรับเก็บยาหรือทำเป็นปฏิทิน ในขณะที่ชาวบาหลีใช้จารลงบนผิวไผ่เป็นแผ่นๆ เพื่อใช้เป็นคัมภีร์ในศาสนาตน นอกจากไม้ไผ่จะมีผิวสวยแล้ว เนื้อไผ่ยังมีลักษณะพิเศษต่างจากเนื้อไม้อื่นคือ มีเสี้ยนยาวขนานกันเป็นเส้น จึงแปรรูปเป็นเส้น เป็นปื้น หรือเหลาให้กลมได้ง่าย และเมื่อแก่เต็มที่แล้วจะเป็นเส้นละเอียดแข็ง มอดแมลงไม่กินจนมีผู้กล่าวว่า เครื่องจักสานไม้ไผ่นั้น ผู้สานสามารถสานให้เป็นรูปทรงแปลกๆ แตกต่างกันได้มากมาย จนเครื่องจักสานบางชิ้นมีรูปทรงและผิวสวยงามดุจงานประติมากรรมสมัยใหม่ทีเดียว


 

 
ต้นไผ่ ไผ่สีสุก ไผ่ซาง ไผ่บง ไผ่รวก

การขยายพันธุ์
ต้นไผ่นิยมนำกิ่งนำกิ่งมาชำ ปลูกง่ายมากๆ

การดูแลรักษา
ดูแลเฉพาะช่วงแรกที่ หากลำต้นโตก็ไม่ต้องดุแลก็ได้ เก็บใช้ประโยชน์อย่างเดียว

ประโยชน์ของไผ่
คนไทยเราผูกพันกับไผ่มายาวนาน ไผ่ถูกใช้ตั้งแต่เกิดจนตาย สำหรับไผ่แล้วเป็นทั้งไม่ที่มีประโยชน์และไม่ที่เป็นมงคล เวลาจะสร้างสิ่งต่างๆ เราจะใช้ไผ่เป็นโครง และงานเครื่องใช้ในครัวของตนในยุคก่อนก็มีไผ่อยู่เกือบทุกอย่าง อย่างเช่นตระกล้า กระบุ้ง พัด ชั้นวางของ บ้าน เป็นต้น

สาระน่ารู้
ไผ่มีหลายชนิด การเลือกใช้ของคนในยุคก่อนก็ตามแต่จะใช้ เช่น ไผ่รวกมีความคม การทำคลอดของคนในยุคก่อนใช้ไผ่ตัดสายสะดือ ไผ่รวกใช้ในงานจักสาน ไผ่สีสุก นำมาประกอบในพิธีมงคลต่างๆ จะต้องมีไผ่สีสุกประกอบ นำมาจักสาน ไผ่บง ไผ่ซาง นำมาจักสาน และนำมาค้ำต้นไม้ และประโยชน์อีกมากมาย เพราะไผ่เป็นต้นไม้สาระพัดประโยชน์จริงๆ สำหรับเรื่องไผ่เดี๋ยวครั้งหน้าผมจะเพิ่มเติมให้แล้วกันนะครับ
สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

ใบ นำมาปรุงเป็นยาขับระดู
ยอดไผ่ ทำเป็นยาขับปัสสาวะ
ราก แก้ไตพิการ ขับปัสสาวะ แก้โรคหนองใน


               แกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง
หน่อไม้เป็นต้นอ่อนของไผ่ ไม้ไผ่เป็นทรัพยากรป่าไม้ที่มีค่ายิ่งต่อชีวิตและความเป็นอยู่ประจำวันของคนไทย โดยเฉพาะชาวชนบทจะมีความสัมพันธ์กับไม้ไผ่อย่างแน่นแฟ้น ทุกส่วนของไม้ไผ่นับตั้งแต่รากถึงยอดจะใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เริ่มตั้งแต่รากฝอยของไม้ไผ่ช่วยยึดติดไม่ให้ดินพังทลาย ต้นอ่อนของไผ่หรือหน่อไม้เป็นอาหารธรรมชาติของคนไทยมาช้านาน เหง้าสามารถนำไปทำเครื่องประดับ กิ่งก้าน มัดรวมกันสามารถใช้ทำเป็นไม้กวาดได้ และลำไม้ไผ่ใช้ทำบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทำเครื่องเรือน ทำด้ามเครื่องมือการเกษตร และภาชนะต่างๆ ทำเครื่องดนตรี เครื่องจักรสาน ใช้เป็นวัตถุ ดิบในอุตสาหกรรมผลินเยื่อกระดาษ การทำไหมเทียมตลอดจนไม้ไผ่นำมาทำเชื้อเพลิงได้ ส่วนที่ใช้เป็นอาหารได้แก่ หน่ออ่อนของไม้ไผ่หรือหน่อไม้ รับประทานเป็นผัก หน่อไม้เป็นผักที่มีมากในฤดูฝนพบในท้องตลาดทุกภาคของเมืองไทย ที่นิยมทำเป็นอาหารกันมากของชาวอีสาน คือ แกงหน่อไม้ใบย่านาง
เครื่องปรุง
  • หน่อไม้รวกเผา5 หน่อ (300 กรัม)
  • ใบย่านาง20 ใบ (115 กรัม)                                                       
  • เห็ดฟางฝ่าครึ่ง? ถ้วย (100 กรัม)
  • ชะอมเด็ดสั้น? ถ้วย (50 กรัม)
  • ฟักทองหั่นชิ้นพอคำ? ถ้วย (50 กรัม)
  • ข้าวโพดข้าวเหนียวฝานเอาแต่เมล็ด? ถ้วย (50 กรัม)
  • แมงลักเด็ดเป็นใบ? ถ้วย (50 กรัม)
  • ตะไคร้ทุบหั่นท่อน? 2 ต้น (60 กรัม)
  • น้ำปลาร้า3 ช้อนโต๊ะ (48 กรัม)
  • น้ำ3?4 ถ้วย (300?400 กรัม)
  • กระชายทุบ? ถ้วย (10 กรัม)
  • พริกขี้หนู10 เม็ด (10 กรัม)
  • ข้าวเบือ1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
  • น้ำปลา? 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
หมายเหตุ ข้าวเบือ คือ ข้าวเหนียวแช่น้ำประมาณ 20 นาทีขึ้นไป
วิธีทำ
  • โขลกข้าวเบือให้ละเอียด
  • ปอกเปลือกหน่อไม้ ตัดส่วนแก่ทิ้ง ตัดเป็นท่อนยาว 2 นิ้ว ต้มน้ำทิ้ง 2-3 ครั้ง ให้หายขื่น
  • โขลกใบย่านาง แล้วนำไปคั้นกับน้ำ ให้น้ำใบย่านางออก กรองใส่หม้อ
  • นำหม้อที่ใส่น้ำใบย่านางยกขึ้นตั้งไฟ ใส่หน่อไม้พอเดือดใส่กระชาย พริกขี้หนู ตะไคร้ ข้าวเบือ น้ำปลาร้า น้ำปลา ต้มสักครู่ ใส่ฟักทอง เห็ดฟาง ข้าวโพด เมื่อทุกอย่างสุกทั่วกันดี ใส่ชะอม ใบแมงลัก ยกหม้อลง
                                         
สรรพคุณทางยา
1. หน่อไม้ มีรสขมหวานร้อน
  • ราก รสอร่อยเอียนเล็กน้อย ใช้ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ
  • ใบไผ่ เป็นยาขับฟอกล้างโลหิตระดูที่เสีย
2. ย่านาง มีรสจืด ทั้งต้นนำมาปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ
  • ใบ ใช้เป็นยาถอนพิษ ปรุงรวมกับยาอื่นแก้ไข้
  • ราก แก้เบื่อเมา กระทุ้งพิษไข้ เป็นเมาสุรา ถอนพิษผิดสำแดง
3. เห็ดฟาง (เห็ดบัว) รสจืด ให้พลังงานและสารอาหารโปรตีนที่มีคุณค่าแทนเนื้อสัตว์ช่วยกระจายโลหิต
4. ชะอม รากชะอมมีสรรพคุณแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้แก้อาการปวดเสียวในท้องได้ดี ยอดชะอมใบอ่อน มีรสจืด กลิ่นฉุน (กลิ่นหอมสุขุม) ช่วยลดความร้อนของร่างกาย
5. ฟักทอง มีคุณค่าทางอาหารสูง บำรุงสายตา บำรุงร่างกาย
??? 6. ข้าวโพด รสหวานมัน เมล็ด เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมาน บำรุงหัวใจ ปอด เจริญอาหาร ขับปัสสาวะ
  • ?ราก ต้มกินรักษานิ่ว และอาเจียน
7. แมงลัก ใบสด รสหอมร้อน เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง ขับลม
8. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ
9. กระชาย รสร้อน แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้บิดมีตัว ขับพยาธิตัวกลม และพยาธิเส้นด้ายในเด็ก ใช้แต่งกลิ่น สี รสอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ไม่มีพิษ
10. พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยย่อย
คุณค่าทางโภชนาการแกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง รสชาติโดยรวมจะออกไปทางขมร้อน จากการใส่ผักหลายชนิดซึ่งมีทั้งรสร้อน รสขม จืดมัน จึงช่วยในการบำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับลม และช่วยเจริญอาหาร

                                                      หน่อไม้ฝรั่งปรุงรส

หน่อไม้ฝรั่งแผ่นปรุงรส อุดมด้วยคุณค่าโภชนาการ -1การเก็บ "หน่อไม้ฝรั่ง" ส่งขายทั้งตลาดภายในประเทศและส่งออกไปยังเพื่อนบ้าน
เกษตรกรชาวไร่ต้องตกแต่งตัดโคนที่แข็งแก่ออกทิ้ง เพื่อให้สวยงาม ดูแล้วน่ากิน
ซึ่งหลังรวบรวมผลิตผลเสร็จ จะเหลือ "โคนแข็ง" อยู่ เหลือทิ้งกลายเป็นขยะมากมาย
เพื่อลดปริมาณขยะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นสาเหตุทำให้โลกร้อน น.ส.จันทร์จีรา ทองร้อยยศ นักศึกษาชั้นปีที่ 4
ภาควิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี
จึงนำมาแปรรูปเป็น "หน่อไม้ฝรั่งแผ่นปรุงรส"

จันทร์จีรา บอกกับ "ทำได้ ไม่จน" ว่า ในหน่อไม้ฝรั่ง มีคุณสมบัติช่วยขับปัสสาวะ
มีวิตามิน B 3 บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดชื่น
และจากการที่พบเห็นว่าโคนหน่อไม้ฝรั่งในชุมชน
หลังตกแต่งเสร็จแล้วจะมีเหลือทิ้งจำนวนมาก รู้สึกเสียดาย อีกทั้งราคาซื้อขายค่อนข้างแพง
จึงคิดว่าน่าจะนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ในรูปแผ่นปรุงรส
เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ของกลุ่มคนที่ชอบทานของขบเคี้ยวเล่นในยามว่าง

โคนหน่อไม้ส่วนที่ตัดทิ้งนำมาใช้ประโยชน์ได้

ขั้นตอนกรรมวิธีการทำนั้นไม่ยุ่งยาก เริ่มจากนำโคนหน่อไม้ส่วนที่ตัดทิ้ง 500 กรัม มาล้างน้ำให้สะอาด
เลือกเอาเฉพาะที่ยังมีสีเขียวมาปอกเปลือกเอาส่วนที่แข็งออก จากนั้นนำไปลวกในน้ำร้อนจัดนาน 1-2 นาที
เสร็จแล้วแช่ในน้ำเย็นจัดปล่อยทิ้งไว้
...จากนั้นผัดเครื่องปรุงประกอบด้วย พริกไทยป่น 2.5 กรัม น้ำมันพืช 10 กรัม กระเทียม 15 กรัม
กระทั่งมีกลิ่นหอม จึงใส่เกลือ 5 กรัม น้ำตาล 7.5 กรัม ตักใส่รวมกับหน่อไม้ นำไปปั่นให้เข้ากัน

เสร็จแล้วนำถุงพลาสติกขนาด 12 x 18 นิ้ว ซึ่งทาด้วยน้ำมันพืช นำไปรีดเป็นแผ่นบางๆ ให้สม่ำเสมอกันแล้วแกะออกเป็นแผ่น นำไปอบลมร้อนในอุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 5 ชั่วโมง

เสร็จแล้วนำถุงพลาสติกขนาด 12 x 18 นิ้ว ซึ่งทาด้วยน้ำมันพืช นำไปรีดเป็นแผ่นบางๆ ให้สม่ำเสมอกัน
แล้วแกะออกเป็นแผ่น นำไปอบลมร้อนในอุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 5 ชั่วโมง
นำมาตัดเป็นแผ่นขนาด 1.5-1 นิ้ว
เพียงเท่านี้ก็จะได้ หน่อไม้ฝรั่งแผ่นปรุงรส ซึ่งมีลักษณะเหมือนสาหร่ายแผ่น ที่ขายตามท้องตลาด
...แล้วยังอุดมด้วยคุณประโยชน์ด้านโภชนาการ ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน ลดปริมาณคอเลสเทอรอลในเส้นเลือด
เพราะมีการปรุงแต่งกลิ่นรสชาติจากสมุนไพร ทั้งกระเทียมและพริกไทย
ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หากรับประทานในปริมาณมาก
 

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การแปรรูปจากมะละกอ

                                                      มะละกอแช่อิ่ม
                                                           
ส่วนประกอบ
1. มะละกอดิบห่าม 1 ใบ
2. น้ำตาลทราย ½ กิโลกรัม

กรรมวิธี
1. ปอกเปลือกมะละกอออกเอาล้างน้ำปูนใส แล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นตามต้องการเอาขึ้นต้มในน้ำเดือด 10 นาทีเพื่อให้เนื้อนุ่มตักสงไว้ให้สะเด็ดน้ำ
2. เอาน้ำตาลลงไปละลายในน้ำต้มเคี่ยวจนเดือดดียกลง เอามะละกอลงไปแช่ค้างไว้ 1 วัน 1 คืนวันที่ 2 ให้เติมน้ำตาลในน้ำต้ม (ตักมะละกอออกก่อน) ให้มีความเข้มข้นกว่าวันแรกจึงนำมะละกอลงแช่อีก 1 วัน 1 คืนแล้วตักออก
3. นำชิ้นมะละกอที่ได้ไปอบโดยใช้ความร้อนประมาณ 160-170 องศาวันละ 1 ชั่วโมง ประมาณ 2-3 วันจะได้มะละกอแช่อิ่มรสชาติหวานกรอบอร่อย

เทคโนโลยีการผลิต / เครื่องมืออุปกรณ์
1. เตาอบ
 
                                                     มะละกอเชื่อม
ส่วนประกอบ
1. มะละกอดิบหรือห่าม 1 กิโลกรัม
2. น้ำตาลทรายขาว 1 กิโลกรัม
3. น้ำปูนใสหรือสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ร้อยละ 1

กรรมวิธี
1. ล้างมะละกอให้สะอาด ปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นตามขวางให้มีความหนาประมาณ 1.5 เซนติเมตร แคะเมล็ดออก แช่ในน้ำปูนใสหรือสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ร้อยละ 1 นาน 30 นาที
2. นำไปเชื่อมโดยใช้มะละกอและน้ำตาลทรายขาวน้ำหนักเท่าๆกัน ใส่น้ำให้ท่วมมะละกอ ใช้ไฟปานกลาง หมั่นกลับชิ้นมะละกอเชื่อมจนเหนียว (ประมาณ 3 ชั่วโมง) มะละกอจะมีสีขาวใสเป็นเงา เอาขึ้นทิ้งให้เย็น บรรจุในภาชนะที่สะอาด

เทคโนโลยีการผลิต / เครื่องมืออุปกรณ์
1. ภาชนะสำหรับบรรจุ

ประเภทของมะละกอ

มะละกอ มีชื่อสามัญ คือ papaya ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Carica papaya L. เป็นพืชที่จัดว่ามีดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย ดอกสมบูรณ์เพศอยู่ในต้นเดียวกัน แต่โดยทั่ว ๆ ไป จะแยกเป็นต้นตัวผู้ ต้นตัวเมีย และต้นสมบูรณ์เพศ ลำต้นของมะละกอ เป็นประเภทไม้เนื้ออ่อน อวบน้ำ มีลำต้นเดียว ใบเกิดเป็นกระจุกบริเวณยอด และแต่ละช่อของลำต้นก็จะมีดอกเกิดขึ้น ดอกมะละกอแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ

1.  ดอกตัวผู้ เป็นดอกที่มีช่อดอกยาว ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นช่อ  แล้วแยกส่วนปลายเป็น 5 กลีบ  มีเกสรตัวผู้ 10 อัน เกสรตัวเมียจะลดรูปลงเหลือเป็นเกสรเล็ก ๆ ซึ่งไม่ทำให้เกิดเป็นผลได้  นอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมบางประการ  ที่อาจทำให้เกสรตัวเมียนี้สามารถเจริญเป็นผลได้
2.  ดอกตัวเมีย เกิดบริเวณข้อของลำต้น  มีก้านสั้น  กลีบดอกแยกออกจากกันทั้ง 5 กลีบ  เกสรตัวเมียมีขนาดใหญ่ เห็นเด่นชัด ไม่มีเกสรตัวผู้เลย ผลที่เกิดจากดอกเช่นนี้  จะมีรูปร่างกลมช่วงว่างในผลใหญ่ เนื้อไม่หนามาก
3.  ดอกสมบูรณ์เพศ เกิดบริเวณข้อของลำต้นเช่นเดียวกับการเกิดดอกตัวเมีย  มักจะเกิดเป็นช่อดอกสั้น ๆเป็นกลุ่ม  มีทั้งดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศในต้นเดียวกัน  ดอกสมบูรณ์เพศยังแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
  • ดอกสมบูรณ์เพศชนิดอีลองตัว(eclongata)ดอกชนิดนี้เหมือนกับดอกตัวผู้แต่เกสรตัวเมียเจริญมากกว่า  ผลที่ได้จากดอกชนิดนี้มีรูปร่างยาวเรียว ช่องว่างภายในผลแคบ เนื้อหนา เป็นผลชนิดที่เป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่าผลที่เกิดจากดอกชนิดอื่น ๆ
  • ดอกสมบูรณ์เพศชนิดเพนแทนเดรีย(pentandria)เป็นดอกที่มีเกสรตัวผู้ 5 ร่อง  เกสรตัวผู้จะอยู่แนบชิดอยู่ในร่องนี้พอดี  ผลจากดอกชนิดนี้มีรูปร่างกลม แยกเป็น 5 ร่องเห็นเด่นชัด
  • ดอกสมบูรณ์เพศชนิดอินเตอร์มีเดียท(intermediate) เป็นดอกที่มีรูปร่างผิดปกติ  เพราะเกสรตัวผู้เจริญรวมกับรังไข่  จึงทำให้ผลจากดอกชนิดนี้บิดเบี้ยว  ไม่เป็นที่ยอมรับของตลาด
นอกจากชนิดของดอกซึ่งเป็นตัวชี้ถึงลักษณะ  และรูปร่างของผลแล้ว  ชนิดของพันธุ์ก็ยังมีผลต่อลักษณะและรูปร่างของผลด้วย  พันธุ์ต่าง ๆ ที่มีปลูกในประเทศไทย และเป็นที่รู้จักกันดี เช่น พันธุ์โกโก้ พันธุ์แขกดำ และพันธุ์สายน้ำผึ้ง  รูปร่างผลของพันธุ์โกโก้ และแขกดำคล้ายกันมากคือ มีรูปร่างทรงกระบอก ส่วนขั้วผลและส่วนปลายผลมีขนาดเท่ากัน  แต่พันธุ์โกโก้จะมีส่วนปลายผลใหญ่กว่าส่วนขั้วผล  สีเนื้อเป็นสีแดงส้มเหมือนกัน เนื้อแน่น ไม่เละ สำหรับพันธุ์สายน้ำผึ้ง รูปร่างผลคล้ายพันธุ์โกโก้ แต่ผลจะยาวกว่า เนื้อเมื่อสุกมีสีเหลืองส้ม  และเนื้อค่อนข้างเละ
สรรพคุณ และ ประโยชน์ของมะละกอวันนี้เรามีอีกหนึ่งสรรพคุณของมะละกอและประโยชน์ของมะละกอมาบอกเล่าเก้าสิบให้ทุกคนผู้รักสุขภาพได้ฟังกัน หรือใครก็ตามที่ชอบนึกยี้ผลไม้อย่างมะละกอล่ะก็อาจจะต้องเปลี่ยนใจเมื่อได้รู้ถึง สรรพคุณของมะละกอ และ ประโยชน์ของมะละกอ และ สรรพคุณของมะละกอ และ ประโยชน์ของมะละกอ ที่เรานำมาบอกกันในวันนี้นั่นก็คือ ผลไม้อย่างมะละกอสุกนั่นเองค่ะ หากเป็นมะละดิบอย่างส้มตำหลาย ๆ คนคงจะไม่ค่อยปฏิเสธแต่หากเป็นเป็นมะละกอสุกหลายคนบ่นร้องยี้ซะงั้น นั้นเพื่อให้คุณเปลี่ยนใจหันมารับประทานมะละกอสุขภันมากขึ้นก็มาดู สรรพคุณของมะละกอ และ ประโยชน์ของมะละกอ กันเลยค่ะ





สรรพคุณ / ประโยชน์ของมะละกอ


มะละกอสุก ๆ เนื้อสีส้มแดงนี่แหละขอบอกว่าเป็นผลไม้ที่ดีที่สุดของความมีประโยชน์ทีเดียว ใครไม่กินก็บอกได้เลยว่า คุณกำลังพลาดของดีชนิดที่สุขภาพไม่น่าให้อภัยเลย มะละกอสุกกินง่ายกว่ามะละกอดิบตั้งเยอะสามารถปอกเปลือกแล้วลำเลียงลงกระเพาะได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการปรุงแต่งแต่อย่างใด เป็นอาหารบริสุทธิ์ที่ธรรมชาติบรรจงสร้างมาให้เรา ฉะนั้นเรามาว่ากันถึงความอร่อยและมีประโยชน์ของมะละกอกันเลยดีกว่า

นอกจากเนื้อหวาน ๆ แสนอร่อยแล้วทุกส่วนของมะละกอยังสามารถนำมาใช้ทำยาได้ ผลการวิจัยพบว่า ประโยชน์ของมะละกอมีอยู่มากมายตั้งแต่ช่วยต้านมะเร็ง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี บรรเทาอาการท้องผูกซึ่งเป็นที่มาของโรคริดสีดวงทวาร ป้องกันอาการตับโต เป็นยาบำรุงหัวใจ ตับ และสมอง

สรรพคุณและประโยชน์ของมะละกอยังเผื่อแผ่ไปถึงเด็กทารกที่ดูดนมมารดาอีก เพราะช่วยกระตุ้นให้แม่มีน้ำนมมากขึ้นป้องกันโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการติดเชื้อจากจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในลำไส้ เรื่องความสวยงาม มะละกอยังมีเอนไซม์ที่ช่วยบำรุงผิวได้เป็นอย่างดี ใครอยากมีผิวหน้าเนียนขาวนุ่มชุ่มชื่นก็นำมะละกอสุกครึ่งถ้วยผสมกับน้ำผึ้ง แท้ 1 ช้อน นมสดอีก 1 ช้อน ปั่นเข้าด้วยกันเป็นครีมข้น ทาให้ทั่วผิวหน้า ทิ้งไว้ 10 - 15 นาทีแล้วล้างออก เท่านี้ก็เห็นผลทันตาและทันใจทีเดียว
มะละกอ (Papaya) เป็นผลไม้ไทยที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ประโยชน์ของมะละกอมีมากมายไม่ว่าจะนำมาทำเป็นอาหารเช่น แกงส้มมะละกอ ทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรเป็นชามะละกอ หรือแม้แต่นำผลสุกมาปอกกินเล่นก็ยังมีประโยชน์ช่วยให้ขับถ่ายง่ายป้องกันท้องผูก อีกทั้งมะละกอเป็นพืชที่ปลูกง่ายการปลูกมะละกอไม่ต้องการการดูแลมากอาศัยพื้นที่ว่างบริเวณรั้วบ้านก็ใช้เป็นที่ปลูกมะละกอได้แล้วเพียงแต่ต้องคอยระวังอย่าให้มีน้ำท่วมในบริเวณที่ปลูกมะละกอก็พอ ยอมเสียพื้นที่ในการปลูกมะละกอไว้แถวบริเวณบ้านสัก 1-2 ต้นรับรองว่าประโยชน์ของมะละกอที่ได้รับจะคุ้มเกินคุ้มอย่างแน่นอน

มะละกอ (Papaya) เป็นพืชยืนต้น สูงประมาณ 3-4 เมตร ลำต้นตั้งตรง เนื้อลำต้นจะอ่อน ลักษณะผลของมะละกออาจมีรูปร่างทั้งเป็นลูกกลมหรือทรงยาวรีแล้วแต่พันธุ์ของมะละกอ มะละกอที่ยังดิบอยู่เปลือกนอกจะมีสีเขียวพอผลมะละกอสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองออกส้ม มะละกอเป็นพืชที่ไม่ชอบให้มีน้ำท่วมขังเพราะจะทำให้รากเน่าและตายได้ มะละกอเป็นพืชที่นิยมปลูกในบริเวณรั้วบ้านวิธีการปลูกมะละกอทำได้ง่ายเพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่ต้องการการดูแลมากนักและทนต่อความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร หากมีต้นมะละกอในบริเวณบ้านระวังอย่าให้น้ำท่วมก็พอ ประโยชน์ของมะละกอสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วนของต้นเลยทีเดียว

ประโยชน์ของมะละกอ เริ่มจากส่วนที่เป็นใบและยอดของมะละกอนำมาใช้ปรุงอาหารได้ ส่วนของลำต้นมะละกอภายในจะเป็นเนื้อสีขาวครีมลักษณะเนื้อจะอ่อนนุ่มคล้ายกับหัวผักกาดจีนที่เราสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้เหมือนกันจะเป็นการดองเค็มหรือตากแห้งเก็บไว้กินก็ได้ ประโยชน์ของมะละกอเมื่อใช้ปรุงเป็นอาหารจะมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารที่สำคัญหลายอย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี (Vitamin A B C) ธาตุเหล็กและแคลเซียม สารอาหารเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น

ประโยชน์ของมะละกอดิบ ผลดิบของมะละกอที่มีเปลือกสีเขียวนั้นภายในจะมียางสีขาวข้นเรียกกันว่ายางมะละกอ สรรพคุณของยางมะละกอใช้หมักเนื้อทำให้เนื้อนุ่มและเร่งให้เปื่อยเร็วขึ้นเมื่อต้มและหากนำยางมะละกอไปสกัดเป็นเอนไซม์ที่มีชื่อว่าปาเปอีน (Papain Enzyme) สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้อีกด้วย  ประโยชน์ของมะละกอดิบยังใช้เป็นยาสมุนไพร (Herb) เป็นยาระบายอ่อนๆช่วยในการขับปัสสาวะหรือจะนำผลมะละกอดิบไปทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรคือ ชามะละกอ ที่มีสรรพคุณในการล้างลำไส้จากคราบไขมันที่เกาะติดอยู่ที่เกิดจากการกินอาหารที่ผัดด้วยน้ำมันเป็นประจำ เมื่อชามะละกอช่วยล้างคราบไขมันที่ผนังลำไส้ออกไปแล้วจะทำให้ระบบดูดซึมสารอาหารทำงานได้เต็มที่

ประโยชน์ของมะละกอที่เห็นอยู่ทุกวันคือการนำไปปรุงเป็นอาหารคือ ส้มตำ (Papaya Salad)  ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคอีสานและเป็นที่รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ  ส่วนผลมะละกอสุกสามารถปอกกินเป็นผลไม้ได้เลย ประโยชน์ของมะละกอที่เป็นผลสุกคือช่วยบำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหารเป็นยาระบายอ่อนๆทำให้ระบบขับถ่ายดีไม่มีอาการท้องผูก ผลมะละกอสุกยังสามารถนำไปทำเป็น น้ำมะละกอ ได้อีกเอนไซม์ปาเปอีน (Papain Enzyme) ที่อยู่ในผลมะละกอจะช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ประโยชน์ของมะละกอสุกยังมีสารอาหารที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) คือเบต้าแคโรทีนที่มีคุณสมบัติช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอยซึ่งเป็นประโยชน์ของมะละกอในด้านความสวยความงามนั่นเอง