วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไม้ไผ่กับวัฒนธรรม
 
           คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รักธรรมชาติ ยิ้มแย้มแจ่มใสใจดี รักศิลปะ เสียงเพลงและดนตรี มีนิสัยอ่อนโยนอ่อนน้อมถ่อมตนและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดีมีภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่ใกล้มือในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือใช้สอยในชีวิตประจำวันได้อย่างสวยงามโดยเฉพาะไม้ไผ่ เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์โดยตรงหรือแปรรูปให้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต คนไทยรู้จักคุ้นเคยและมีความผูกพันอย่างชนิดแยกไม่ออกมาตั้งแต่เกิดจนตาย กลายเป็นวัฒนธรรมสืบทอดกันต่อมา    "ไผ่" เป็นชื่อพันธุ์ไม้พวกหนึ่ง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ กล่าวว่า ไผ่เป็นชื่อพรรณไม้พวกหนึ่ง ( Bambusa spp.) อยู่ในวงศ์ Graminese เป็นกอ ลำต้นสูง และเป็นปล้องๆ มีหลายชนิดมากกว่า ๑,๒๕๐ ขนิด ๕๐ ตระกูล เช่น ไผ่จีน ไผ่ป่า ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ดำ เป็นต้น ไม้ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะเฉพาะที่แปลกไปจากพืชและพันธุ์ไม้อื่นๆ เพราะแม้ว่าไผ่มีลักษณะที่ควรจะเป็นต้นไม้ แต่ไผ่กลับถูกจัดเป็นหญ้าประเภทหนึ่ง และเป็น "หญ้ายักษ์" เพราะลำต้นสูง กลวงเป็นปล้องๆ หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าใบไผ่คล้ายกับใบหญ้า ไผ่ขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ เพราะหนึ่งในร้อยปีไผ่จึงอาจจะออกดอกสักครั้ง และหลังจากออกดอกแล้วก็ตาย ไผ่จะเติบโตอย่างรวดเร็วและจะโตเต็มที่ภายในสองเดือน และจะคงขนาดเช่นนั้นไปตลอดชีวิตของมัน ลำต้นของไผ่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๐.๗ - ๗ นิ้ว สูง ๑ - ๖๐ ฟุต ไผ่ขึ้นได้ทั้งในบริเวณที่มีอากาศอบอุ่นและอากาศเย็นต่ำกว่าศูนย์องศา ไผ่จึงเป็นไม้ที่มีมากในบริเวณเอเซียและแปซิฟิค อเมริกาใต้บางท้องถิ่น
คุณลักษณะพิเศษของ "ไผ่"
           ๑.ไผ่โตเร็วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ภายในเวลา ๑ - ๔ ปี และใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่รากไผ่เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นยารักษาโรคได้ หนิอไผ่หรือหน่อไม้ใช้ทำอาหาร กาบหรือใบไผ่ใช้ห่ออาหารหรือหมักปุ๋ย กิ่งและแขนงใช้ทำรั้ว ลำต้นใช้ประโยชน์ได้สารพัดอย่าง ตั้งแต่นำมาใช้ปลูกสร้างที่พักอาศัยและแปรรูปเป็นเครื่องจักสานและเครื่องมือเครื่องใช้นานาชนิดจนถึงนำมาใช้เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย
           คังนั้นชาวนาจึงมักปลูกไผ่ตามหัวไร่ปลายนา และปลูกไว้รอบๆบ้าน เพื่อใช้เป็นรั้วบ้านและป้องกันพายุ เพราะไม้ไผ่จะลู่ตามลมไม่หักโค่นเหมือนไม้อื่น หากปลูกไผ่ไว้ตามริมแม่น้ำลำคลอง จะช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำไม่ให้ดินพัวทะลายง่าย นอกจากนี้ไผ่ยังใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้ด้วย


            ๒. ไผ่มีลำต้นตรงและกลวงคล้ายหลอดและมีปล้องข้อคั่นเป็นปล้องๆ จึงใช้เป็นภาชนะประเภทกระบอก ถ้วย สำหรับใส่ของเหลว เช่นใช้เป็นกระบอกน้ำ กระบอกน้ำตาล ซึ่งใช้กันทั่วไปในหลายประเทศ ลักษณะพิเศษของไม้ไผ่นี้สามารถนำมาใช้สร้างอาคารที่พักอาศัยได้ โดยนำมาทำเป็นโครงสร้างของบ้านเรือน ใช้เป็นพื้นเรือน ฝาเรือน ใช้ทำรางน้ำ ท่อน้ำ และทำเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ยได้ดีอีกด้วย

           ๓. เนื้อไผ่เป็นเส้นตรงมีความยืดหยุ่นในตัวเองและสามารถคินตัวสู่สภาพเดิมได้ เมื่อนำไม้ไผ่มาแปรรูปก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ดี เพราะเนื้อไม้ไผ่เป็นเส้นตรง นำมาจักเป็นปื้นบางๆ หรือเหลาเป็นเส้นได้ดี จึงใช้ทำเครื่องจักสานนานาชนิดได้ ทั้งเครื่องจักสานที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรงมั่นคง สำหรับใช้งานหนักจนถึงเครื่องจักสานขนาดเล็กที่มีความปราณีตบอบบาง และเพราะคุณสมบัติในที่มีความยืดหยุ่น จึงเหมาะที่จะใช้เป็นเครื่องหาบหรือหาม เช่น คาน คันกระสุน คันธนูและเมื่อแปรรูปเป็นตอกก็ยังมีความยืดหยุ่นคืนรูปทรงเดิมได้ง่ายจึงทำให้ภาชนะจักสานที่ทำจากไผ่มีคุณลักษณะพิเศษต่างไปจากภาชนะที่ทำจากวัตถุดิบชนิดอื่น
           ๔. ไม้ไผ่มีความสวยงามในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นผิวที่มีสีต่างๆ กันเมื่อแห้งแล้วมักจะมีสีเหลืองอยู่เช่นนั้นตลอดไป ด้วยคุณสมบัติพิเศษนี้ ชาวเอเซียจึงใช้เหล็กหรือโลหะเผาไฟจนร้อนแล้วเขียนตัวอักษรหรือลวดลายลงบนผิวไม้ไผ่ ( Bamboo Pyrographic ) เช่นจีนจารึกบทกวีบนผิวไม้ไผ่ ชาวญี่ปุ่นใช้เขียนชื่อเจ้าของบ้านแขวนไว้หน้าบ้านและจารึกบทกวีแขวนไว้สองข้างประตูเรือนน้ำชา ( Tea House ) ชาวเกาหลีใช้เขียนเป็นลวดลายบนเครื่องใช้ เช่นเดียวกับที่ชาวบาตัก ( Batak) ในประเทศอินโดนีเซีย ใช้เหล็กเผาไฟ ขูด ขีด เขียน ลงบนกระบอกไม้ไผ่ สำหรับเก็บยาหรือทำเป็นปฏิทิน ในขณะที่ชาวบาหลีใช้จารลงบนผิวไผ่เป็นแผ่นๆ เพื่อใช้เป็นคัมภีร์ในศาสนาตน นอกจากไม้ไผ่จะมีผิวสวยแล้ว เนื้อไผ่ยังมีลักษณะพิเศษต่างจากเนื้อไม้อื่นคือ มีเสี้ยนยาวขนานกันเป็นเส้น จึงแปรรูปเป็นเส้น เป็นปื้น หรือเหลาให้กลมได้ง่าย และเมื่อแก่เต็มที่แล้วจะเป็นเส้นละเอียดแข็ง มอดแมลงไม่กินจนมีผู้กล่าวว่า เครื่องจักสานไม้ไผ่นั้น ผู้สานสามารถสานให้เป็นรูปทรงแปลกๆ แตกต่างกันได้มากมาย จนเครื่องจักสานบางชิ้นมีรูปทรงและผิวสวยงามดุจงานประติมากรรมสมัยใหม่ทีเดียว


 

 
ต้นไผ่ ไผ่สีสุก ไผ่ซาง ไผ่บง ไผ่รวก

การขยายพันธุ์
ต้นไผ่นิยมนำกิ่งนำกิ่งมาชำ ปลูกง่ายมากๆ

การดูแลรักษา
ดูแลเฉพาะช่วงแรกที่ หากลำต้นโตก็ไม่ต้องดุแลก็ได้ เก็บใช้ประโยชน์อย่างเดียว

ประโยชน์ของไผ่
คนไทยเราผูกพันกับไผ่มายาวนาน ไผ่ถูกใช้ตั้งแต่เกิดจนตาย สำหรับไผ่แล้วเป็นทั้งไม่ที่มีประโยชน์และไม่ที่เป็นมงคล เวลาจะสร้างสิ่งต่างๆ เราจะใช้ไผ่เป็นโครง และงานเครื่องใช้ในครัวของตนในยุคก่อนก็มีไผ่อยู่เกือบทุกอย่าง อย่างเช่นตระกล้า กระบุ้ง พัด ชั้นวางของ บ้าน เป็นต้น

สาระน่ารู้
ไผ่มีหลายชนิด การเลือกใช้ของคนในยุคก่อนก็ตามแต่จะใช้ เช่น ไผ่รวกมีความคม การทำคลอดของคนในยุคก่อนใช้ไผ่ตัดสายสะดือ ไผ่รวกใช้ในงานจักสาน ไผ่สีสุก นำมาประกอบในพิธีมงคลต่างๆ จะต้องมีไผ่สีสุกประกอบ นำมาจักสาน ไผ่บง ไผ่ซาง นำมาจักสาน และนำมาค้ำต้นไม้ และประโยชน์อีกมากมาย เพราะไผ่เป็นต้นไม้สาระพัดประโยชน์จริงๆ สำหรับเรื่องไผ่เดี๋ยวครั้งหน้าผมจะเพิ่มเติมให้แล้วกันนะครับ
สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

ใบ นำมาปรุงเป็นยาขับระดู
ยอดไผ่ ทำเป็นยาขับปัสสาวะ
ราก แก้ไตพิการ ขับปัสสาวะ แก้โรคหนองใน


               แกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง
หน่อไม้เป็นต้นอ่อนของไผ่ ไม้ไผ่เป็นทรัพยากรป่าไม้ที่มีค่ายิ่งต่อชีวิตและความเป็นอยู่ประจำวันของคนไทย โดยเฉพาะชาวชนบทจะมีความสัมพันธ์กับไม้ไผ่อย่างแน่นแฟ้น ทุกส่วนของไม้ไผ่นับตั้งแต่รากถึงยอดจะใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เริ่มตั้งแต่รากฝอยของไม้ไผ่ช่วยยึดติดไม่ให้ดินพังทลาย ต้นอ่อนของไผ่หรือหน่อไม้เป็นอาหารธรรมชาติของคนไทยมาช้านาน เหง้าสามารถนำไปทำเครื่องประดับ กิ่งก้าน มัดรวมกันสามารถใช้ทำเป็นไม้กวาดได้ และลำไม้ไผ่ใช้ทำบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทำเครื่องเรือน ทำด้ามเครื่องมือการเกษตร และภาชนะต่างๆ ทำเครื่องดนตรี เครื่องจักรสาน ใช้เป็นวัตถุ ดิบในอุตสาหกรรมผลินเยื่อกระดาษ การทำไหมเทียมตลอดจนไม้ไผ่นำมาทำเชื้อเพลิงได้ ส่วนที่ใช้เป็นอาหารได้แก่ หน่ออ่อนของไม้ไผ่หรือหน่อไม้ รับประทานเป็นผัก หน่อไม้เป็นผักที่มีมากในฤดูฝนพบในท้องตลาดทุกภาคของเมืองไทย ที่นิยมทำเป็นอาหารกันมากของชาวอีสาน คือ แกงหน่อไม้ใบย่านาง
เครื่องปรุง
  • หน่อไม้รวกเผา5 หน่อ (300 กรัม)
  • ใบย่านาง20 ใบ (115 กรัม)                                                       
  • เห็ดฟางฝ่าครึ่ง? ถ้วย (100 กรัม)
  • ชะอมเด็ดสั้น? ถ้วย (50 กรัม)
  • ฟักทองหั่นชิ้นพอคำ? ถ้วย (50 กรัม)
  • ข้าวโพดข้าวเหนียวฝานเอาแต่เมล็ด? ถ้วย (50 กรัม)
  • แมงลักเด็ดเป็นใบ? ถ้วย (50 กรัม)
  • ตะไคร้ทุบหั่นท่อน? 2 ต้น (60 กรัม)
  • น้ำปลาร้า3 ช้อนโต๊ะ (48 กรัม)
  • น้ำ3?4 ถ้วย (300?400 กรัม)
  • กระชายทุบ? ถ้วย (10 กรัม)
  • พริกขี้หนู10 เม็ด (10 กรัม)
  • ข้าวเบือ1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
  • น้ำปลา? 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
หมายเหตุ ข้าวเบือ คือ ข้าวเหนียวแช่น้ำประมาณ 20 นาทีขึ้นไป
วิธีทำ
  • โขลกข้าวเบือให้ละเอียด
  • ปอกเปลือกหน่อไม้ ตัดส่วนแก่ทิ้ง ตัดเป็นท่อนยาว 2 นิ้ว ต้มน้ำทิ้ง 2-3 ครั้ง ให้หายขื่น
  • โขลกใบย่านาง แล้วนำไปคั้นกับน้ำ ให้น้ำใบย่านางออก กรองใส่หม้อ
  • นำหม้อที่ใส่น้ำใบย่านางยกขึ้นตั้งไฟ ใส่หน่อไม้พอเดือดใส่กระชาย พริกขี้หนู ตะไคร้ ข้าวเบือ น้ำปลาร้า น้ำปลา ต้มสักครู่ ใส่ฟักทอง เห็ดฟาง ข้าวโพด เมื่อทุกอย่างสุกทั่วกันดี ใส่ชะอม ใบแมงลัก ยกหม้อลง
                                         
สรรพคุณทางยา
1. หน่อไม้ มีรสขมหวานร้อน
  • ราก รสอร่อยเอียนเล็กน้อย ใช้ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ
  • ใบไผ่ เป็นยาขับฟอกล้างโลหิตระดูที่เสีย
2. ย่านาง มีรสจืด ทั้งต้นนำมาปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ
  • ใบ ใช้เป็นยาถอนพิษ ปรุงรวมกับยาอื่นแก้ไข้
  • ราก แก้เบื่อเมา กระทุ้งพิษไข้ เป็นเมาสุรา ถอนพิษผิดสำแดง
3. เห็ดฟาง (เห็ดบัว) รสจืด ให้พลังงานและสารอาหารโปรตีนที่มีคุณค่าแทนเนื้อสัตว์ช่วยกระจายโลหิต
4. ชะอม รากชะอมมีสรรพคุณแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้แก้อาการปวดเสียวในท้องได้ดี ยอดชะอมใบอ่อน มีรสจืด กลิ่นฉุน (กลิ่นหอมสุขุม) ช่วยลดความร้อนของร่างกาย
5. ฟักทอง มีคุณค่าทางอาหารสูง บำรุงสายตา บำรุงร่างกาย
??? 6. ข้าวโพด รสหวานมัน เมล็ด เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมาน บำรุงหัวใจ ปอด เจริญอาหาร ขับปัสสาวะ
  • ?ราก ต้มกินรักษานิ่ว และอาเจียน
7. แมงลัก ใบสด รสหอมร้อน เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง ขับลม
8. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ
9. กระชาย รสร้อน แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้บิดมีตัว ขับพยาธิตัวกลม และพยาธิเส้นด้ายในเด็ก ใช้แต่งกลิ่น สี รสอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ไม่มีพิษ
10. พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยย่อย
คุณค่าทางโภชนาการแกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง รสชาติโดยรวมจะออกไปทางขมร้อน จากการใส่ผักหลายชนิดซึ่งมีทั้งรสร้อน รสขม จืดมัน จึงช่วยในการบำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับลม และช่วยเจริญอาหาร

                                                      หน่อไม้ฝรั่งปรุงรส

หน่อไม้ฝรั่งแผ่นปรุงรส อุดมด้วยคุณค่าโภชนาการ -1การเก็บ "หน่อไม้ฝรั่ง" ส่งขายทั้งตลาดภายในประเทศและส่งออกไปยังเพื่อนบ้าน
เกษตรกรชาวไร่ต้องตกแต่งตัดโคนที่แข็งแก่ออกทิ้ง เพื่อให้สวยงาม ดูแล้วน่ากิน
ซึ่งหลังรวบรวมผลิตผลเสร็จ จะเหลือ "โคนแข็ง" อยู่ เหลือทิ้งกลายเป็นขยะมากมาย
เพื่อลดปริมาณขยะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นสาเหตุทำให้โลกร้อน น.ส.จันทร์จีรา ทองร้อยยศ นักศึกษาชั้นปีที่ 4
ภาควิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี
จึงนำมาแปรรูปเป็น "หน่อไม้ฝรั่งแผ่นปรุงรส"

จันทร์จีรา บอกกับ "ทำได้ ไม่จน" ว่า ในหน่อไม้ฝรั่ง มีคุณสมบัติช่วยขับปัสสาวะ
มีวิตามิน B 3 บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดชื่น
และจากการที่พบเห็นว่าโคนหน่อไม้ฝรั่งในชุมชน
หลังตกแต่งเสร็จแล้วจะมีเหลือทิ้งจำนวนมาก รู้สึกเสียดาย อีกทั้งราคาซื้อขายค่อนข้างแพง
จึงคิดว่าน่าจะนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ในรูปแผ่นปรุงรส
เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ของกลุ่มคนที่ชอบทานของขบเคี้ยวเล่นในยามว่าง

โคนหน่อไม้ส่วนที่ตัดทิ้งนำมาใช้ประโยชน์ได้

ขั้นตอนกรรมวิธีการทำนั้นไม่ยุ่งยาก เริ่มจากนำโคนหน่อไม้ส่วนที่ตัดทิ้ง 500 กรัม มาล้างน้ำให้สะอาด
เลือกเอาเฉพาะที่ยังมีสีเขียวมาปอกเปลือกเอาส่วนที่แข็งออก จากนั้นนำไปลวกในน้ำร้อนจัดนาน 1-2 นาที
เสร็จแล้วแช่ในน้ำเย็นจัดปล่อยทิ้งไว้
...จากนั้นผัดเครื่องปรุงประกอบด้วย พริกไทยป่น 2.5 กรัม น้ำมันพืช 10 กรัม กระเทียม 15 กรัม
กระทั่งมีกลิ่นหอม จึงใส่เกลือ 5 กรัม น้ำตาล 7.5 กรัม ตักใส่รวมกับหน่อไม้ นำไปปั่นให้เข้ากัน

เสร็จแล้วนำถุงพลาสติกขนาด 12 x 18 นิ้ว ซึ่งทาด้วยน้ำมันพืช นำไปรีดเป็นแผ่นบางๆ ให้สม่ำเสมอกันแล้วแกะออกเป็นแผ่น นำไปอบลมร้อนในอุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 5 ชั่วโมง

เสร็จแล้วนำถุงพลาสติกขนาด 12 x 18 นิ้ว ซึ่งทาด้วยน้ำมันพืช นำไปรีดเป็นแผ่นบางๆ ให้สม่ำเสมอกัน
แล้วแกะออกเป็นแผ่น นำไปอบลมร้อนในอุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 5 ชั่วโมง
นำมาตัดเป็นแผ่นขนาด 1.5-1 นิ้ว
เพียงเท่านี้ก็จะได้ หน่อไม้ฝรั่งแผ่นปรุงรส ซึ่งมีลักษณะเหมือนสาหร่ายแผ่น ที่ขายตามท้องตลาด
...แล้วยังอุดมด้วยคุณประโยชน์ด้านโภชนาการ ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน ลดปริมาณคอเลสเทอรอลในเส้นเลือด
เพราะมีการปรุงแต่งกลิ่นรสชาติจากสมุนไพร ทั้งกระเทียมและพริกไทย
ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หากรับประทานในปริมาณมาก
 

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การแปรรูปจากมะละกอ

                                                      มะละกอแช่อิ่ม
                                                           
ส่วนประกอบ
1. มะละกอดิบห่าม 1 ใบ
2. น้ำตาลทราย ½ กิโลกรัม

กรรมวิธี
1. ปอกเปลือกมะละกอออกเอาล้างน้ำปูนใส แล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นตามต้องการเอาขึ้นต้มในน้ำเดือด 10 นาทีเพื่อให้เนื้อนุ่มตักสงไว้ให้สะเด็ดน้ำ
2. เอาน้ำตาลลงไปละลายในน้ำต้มเคี่ยวจนเดือดดียกลง เอามะละกอลงไปแช่ค้างไว้ 1 วัน 1 คืนวันที่ 2 ให้เติมน้ำตาลในน้ำต้ม (ตักมะละกอออกก่อน) ให้มีความเข้มข้นกว่าวันแรกจึงนำมะละกอลงแช่อีก 1 วัน 1 คืนแล้วตักออก
3. นำชิ้นมะละกอที่ได้ไปอบโดยใช้ความร้อนประมาณ 160-170 องศาวันละ 1 ชั่วโมง ประมาณ 2-3 วันจะได้มะละกอแช่อิ่มรสชาติหวานกรอบอร่อย

เทคโนโลยีการผลิต / เครื่องมืออุปกรณ์
1. เตาอบ
 
                                                     มะละกอเชื่อม
ส่วนประกอบ
1. มะละกอดิบหรือห่าม 1 กิโลกรัม
2. น้ำตาลทรายขาว 1 กิโลกรัม
3. น้ำปูนใสหรือสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ร้อยละ 1

กรรมวิธี
1. ล้างมะละกอให้สะอาด ปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นตามขวางให้มีความหนาประมาณ 1.5 เซนติเมตร แคะเมล็ดออก แช่ในน้ำปูนใสหรือสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ร้อยละ 1 นาน 30 นาที
2. นำไปเชื่อมโดยใช้มะละกอและน้ำตาลทรายขาวน้ำหนักเท่าๆกัน ใส่น้ำให้ท่วมมะละกอ ใช้ไฟปานกลาง หมั่นกลับชิ้นมะละกอเชื่อมจนเหนียว (ประมาณ 3 ชั่วโมง) มะละกอจะมีสีขาวใสเป็นเงา เอาขึ้นทิ้งให้เย็น บรรจุในภาชนะที่สะอาด

เทคโนโลยีการผลิต / เครื่องมืออุปกรณ์
1. ภาชนะสำหรับบรรจุ

ประเภทของมะละกอ

มะละกอ มีชื่อสามัญ คือ papaya ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Carica papaya L. เป็นพืชที่จัดว่ามีดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย ดอกสมบูรณ์เพศอยู่ในต้นเดียวกัน แต่โดยทั่ว ๆ ไป จะแยกเป็นต้นตัวผู้ ต้นตัวเมีย และต้นสมบูรณ์เพศ ลำต้นของมะละกอ เป็นประเภทไม้เนื้ออ่อน อวบน้ำ มีลำต้นเดียว ใบเกิดเป็นกระจุกบริเวณยอด และแต่ละช่อของลำต้นก็จะมีดอกเกิดขึ้น ดอกมะละกอแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ

1.  ดอกตัวผู้ เป็นดอกที่มีช่อดอกยาว ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นช่อ  แล้วแยกส่วนปลายเป็น 5 กลีบ  มีเกสรตัวผู้ 10 อัน เกสรตัวเมียจะลดรูปลงเหลือเป็นเกสรเล็ก ๆ ซึ่งไม่ทำให้เกิดเป็นผลได้  นอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมบางประการ  ที่อาจทำให้เกสรตัวเมียนี้สามารถเจริญเป็นผลได้
2.  ดอกตัวเมีย เกิดบริเวณข้อของลำต้น  มีก้านสั้น  กลีบดอกแยกออกจากกันทั้ง 5 กลีบ  เกสรตัวเมียมีขนาดใหญ่ เห็นเด่นชัด ไม่มีเกสรตัวผู้เลย ผลที่เกิดจากดอกเช่นนี้  จะมีรูปร่างกลมช่วงว่างในผลใหญ่ เนื้อไม่หนามาก
3.  ดอกสมบูรณ์เพศ เกิดบริเวณข้อของลำต้นเช่นเดียวกับการเกิดดอกตัวเมีย  มักจะเกิดเป็นช่อดอกสั้น ๆเป็นกลุ่ม  มีทั้งดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศในต้นเดียวกัน  ดอกสมบูรณ์เพศยังแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
  • ดอกสมบูรณ์เพศชนิดอีลองตัว(eclongata)ดอกชนิดนี้เหมือนกับดอกตัวผู้แต่เกสรตัวเมียเจริญมากกว่า  ผลที่ได้จากดอกชนิดนี้มีรูปร่างยาวเรียว ช่องว่างภายในผลแคบ เนื้อหนา เป็นผลชนิดที่เป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่าผลที่เกิดจากดอกชนิดอื่น ๆ
  • ดอกสมบูรณ์เพศชนิดเพนแทนเดรีย(pentandria)เป็นดอกที่มีเกสรตัวผู้ 5 ร่อง  เกสรตัวผู้จะอยู่แนบชิดอยู่ในร่องนี้พอดี  ผลจากดอกชนิดนี้มีรูปร่างกลม แยกเป็น 5 ร่องเห็นเด่นชัด
  • ดอกสมบูรณ์เพศชนิดอินเตอร์มีเดียท(intermediate) เป็นดอกที่มีรูปร่างผิดปกติ  เพราะเกสรตัวผู้เจริญรวมกับรังไข่  จึงทำให้ผลจากดอกชนิดนี้บิดเบี้ยว  ไม่เป็นที่ยอมรับของตลาด
นอกจากชนิดของดอกซึ่งเป็นตัวชี้ถึงลักษณะ  และรูปร่างของผลแล้ว  ชนิดของพันธุ์ก็ยังมีผลต่อลักษณะและรูปร่างของผลด้วย  พันธุ์ต่าง ๆ ที่มีปลูกในประเทศไทย และเป็นที่รู้จักกันดี เช่น พันธุ์โกโก้ พันธุ์แขกดำ และพันธุ์สายน้ำผึ้ง  รูปร่างผลของพันธุ์โกโก้ และแขกดำคล้ายกันมากคือ มีรูปร่างทรงกระบอก ส่วนขั้วผลและส่วนปลายผลมีขนาดเท่ากัน  แต่พันธุ์โกโก้จะมีส่วนปลายผลใหญ่กว่าส่วนขั้วผล  สีเนื้อเป็นสีแดงส้มเหมือนกัน เนื้อแน่น ไม่เละ สำหรับพันธุ์สายน้ำผึ้ง รูปร่างผลคล้ายพันธุ์โกโก้ แต่ผลจะยาวกว่า เนื้อเมื่อสุกมีสีเหลืองส้ม  และเนื้อค่อนข้างเละ
สรรพคุณ และ ประโยชน์ของมะละกอวันนี้เรามีอีกหนึ่งสรรพคุณของมะละกอและประโยชน์ของมะละกอมาบอกเล่าเก้าสิบให้ทุกคนผู้รักสุขภาพได้ฟังกัน หรือใครก็ตามที่ชอบนึกยี้ผลไม้อย่างมะละกอล่ะก็อาจจะต้องเปลี่ยนใจเมื่อได้รู้ถึง สรรพคุณของมะละกอ และ ประโยชน์ของมะละกอ และ สรรพคุณของมะละกอ และ ประโยชน์ของมะละกอ ที่เรานำมาบอกกันในวันนี้นั่นก็คือ ผลไม้อย่างมะละกอสุกนั่นเองค่ะ หากเป็นมะละดิบอย่างส้มตำหลาย ๆ คนคงจะไม่ค่อยปฏิเสธแต่หากเป็นเป็นมะละกอสุกหลายคนบ่นร้องยี้ซะงั้น นั้นเพื่อให้คุณเปลี่ยนใจหันมารับประทานมะละกอสุขภันมากขึ้นก็มาดู สรรพคุณของมะละกอ และ ประโยชน์ของมะละกอ กันเลยค่ะ





สรรพคุณ / ประโยชน์ของมะละกอ


มะละกอสุก ๆ เนื้อสีส้มแดงนี่แหละขอบอกว่าเป็นผลไม้ที่ดีที่สุดของความมีประโยชน์ทีเดียว ใครไม่กินก็บอกได้เลยว่า คุณกำลังพลาดของดีชนิดที่สุขภาพไม่น่าให้อภัยเลย มะละกอสุกกินง่ายกว่ามะละกอดิบตั้งเยอะสามารถปอกเปลือกแล้วลำเลียงลงกระเพาะได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการปรุงแต่งแต่อย่างใด เป็นอาหารบริสุทธิ์ที่ธรรมชาติบรรจงสร้างมาให้เรา ฉะนั้นเรามาว่ากันถึงความอร่อยและมีประโยชน์ของมะละกอกันเลยดีกว่า

นอกจากเนื้อหวาน ๆ แสนอร่อยแล้วทุกส่วนของมะละกอยังสามารถนำมาใช้ทำยาได้ ผลการวิจัยพบว่า ประโยชน์ของมะละกอมีอยู่มากมายตั้งแต่ช่วยต้านมะเร็ง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี บรรเทาอาการท้องผูกซึ่งเป็นที่มาของโรคริดสีดวงทวาร ป้องกันอาการตับโต เป็นยาบำรุงหัวใจ ตับ และสมอง

สรรพคุณและประโยชน์ของมะละกอยังเผื่อแผ่ไปถึงเด็กทารกที่ดูดนมมารดาอีก เพราะช่วยกระตุ้นให้แม่มีน้ำนมมากขึ้นป้องกันโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการติดเชื้อจากจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในลำไส้ เรื่องความสวยงาม มะละกอยังมีเอนไซม์ที่ช่วยบำรุงผิวได้เป็นอย่างดี ใครอยากมีผิวหน้าเนียนขาวนุ่มชุ่มชื่นก็นำมะละกอสุกครึ่งถ้วยผสมกับน้ำผึ้ง แท้ 1 ช้อน นมสดอีก 1 ช้อน ปั่นเข้าด้วยกันเป็นครีมข้น ทาให้ทั่วผิวหน้า ทิ้งไว้ 10 - 15 นาทีแล้วล้างออก เท่านี้ก็เห็นผลทันตาและทันใจทีเดียว
มะละกอ (Papaya) เป็นผลไม้ไทยที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ประโยชน์ของมะละกอมีมากมายไม่ว่าจะนำมาทำเป็นอาหารเช่น แกงส้มมะละกอ ทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรเป็นชามะละกอ หรือแม้แต่นำผลสุกมาปอกกินเล่นก็ยังมีประโยชน์ช่วยให้ขับถ่ายง่ายป้องกันท้องผูก อีกทั้งมะละกอเป็นพืชที่ปลูกง่ายการปลูกมะละกอไม่ต้องการการดูแลมากอาศัยพื้นที่ว่างบริเวณรั้วบ้านก็ใช้เป็นที่ปลูกมะละกอได้แล้วเพียงแต่ต้องคอยระวังอย่าให้มีน้ำท่วมในบริเวณที่ปลูกมะละกอก็พอ ยอมเสียพื้นที่ในการปลูกมะละกอไว้แถวบริเวณบ้านสัก 1-2 ต้นรับรองว่าประโยชน์ของมะละกอที่ได้รับจะคุ้มเกินคุ้มอย่างแน่นอน

มะละกอ (Papaya) เป็นพืชยืนต้น สูงประมาณ 3-4 เมตร ลำต้นตั้งตรง เนื้อลำต้นจะอ่อน ลักษณะผลของมะละกออาจมีรูปร่างทั้งเป็นลูกกลมหรือทรงยาวรีแล้วแต่พันธุ์ของมะละกอ มะละกอที่ยังดิบอยู่เปลือกนอกจะมีสีเขียวพอผลมะละกอสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองออกส้ม มะละกอเป็นพืชที่ไม่ชอบให้มีน้ำท่วมขังเพราะจะทำให้รากเน่าและตายได้ มะละกอเป็นพืชที่นิยมปลูกในบริเวณรั้วบ้านวิธีการปลูกมะละกอทำได้ง่ายเพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่ต้องการการดูแลมากนักและทนต่อความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร หากมีต้นมะละกอในบริเวณบ้านระวังอย่าให้น้ำท่วมก็พอ ประโยชน์ของมะละกอสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วนของต้นเลยทีเดียว

ประโยชน์ของมะละกอ เริ่มจากส่วนที่เป็นใบและยอดของมะละกอนำมาใช้ปรุงอาหารได้ ส่วนของลำต้นมะละกอภายในจะเป็นเนื้อสีขาวครีมลักษณะเนื้อจะอ่อนนุ่มคล้ายกับหัวผักกาดจีนที่เราสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้เหมือนกันจะเป็นการดองเค็มหรือตากแห้งเก็บไว้กินก็ได้ ประโยชน์ของมะละกอเมื่อใช้ปรุงเป็นอาหารจะมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารที่สำคัญหลายอย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี (Vitamin A B C) ธาตุเหล็กและแคลเซียม สารอาหารเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น

ประโยชน์ของมะละกอดิบ ผลดิบของมะละกอที่มีเปลือกสีเขียวนั้นภายในจะมียางสีขาวข้นเรียกกันว่ายางมะละกอ สรรพคุณของยางมะละกอใช้หมักเนื้อทำให้เนื้อนุ่มและเร่งให้เปื่อยเร็วขึ้นเมื่อต้มและหากนำยางมะละกอไปสกัดเป็นเอนไซม์ที่มีชื่อว่าปาเปอีน (Papain Enzyme) สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้อีกด้วย  ประโยชน์ของมะละกอดิบยังใช้เป็นยาสมุนไพร (Herb) เป็นยาระบายอ่อนๆช่วยในการขับปัสสาวะหรือจะนำผลมะละกอดิบไปทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรคือ ชามะละกอ ที่มีสรรพคุณในการล้างลำไส้จากคราบไขมันที่เกาะติดอยู่ที่เกิดจากการกินอาหารที่ผัดด้วยน้ำมันเป็นประจำ เมื่อชามะละกอช่วยล้างคราบไขมันที่ผนังลำไส้ออกไปแล้วจะทำให้ระบบดูดซึมสารอาหารทำงานได้เต็มที่

ประโยชน์ของมะละกอที่เห็นอยู่ทุกวันคือการนำไปปรุงเป็นอาหารคือ ส้มตำ (Papaya Salad)  ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคอีสานและเป็นที่รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ  ส่วนผลมะละกอสุกสามารถปอกกินเป็นผลไม้ได้เลย ประโยชน์ของมะละกอที่เป็นผลสุกคือช่วยบำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหารเป็นยาระบายอ่อนๆทำให้ระบบขับถ่ายดีไม่มีอาการท้องผูก ผลมะละกอสุกยังสามารถนำไปทำเป็น น้ำมะละกอ ได้อีกเอนไซม์ปาเปอีน (Papain Enzyme) ที่อยู่ในผลมะละกอจะช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ประโยชน์ของมะละกอสุกยังมีสารอาหารที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) คือเบต้าแคโรทีนที่มีคุณสมบัติช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอยซึ่งเป็นประโยชน์ของมะละกอในด้านความสวยความงามนั่นเอง

มะละกอสร้างชาติ

ลักษณะของมะละกอ


ลำต้น มะละกอจัดเป็นพืชล้มลุก    มีอายุสั้น   ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน  มีน้ำมาก   ลำต้นเปราะ หักง่าย   เมื่อถูกลมพัดแรงๆ  สูงประมาณ     1.5  -  6    เมตร


ใบ เป็นใบเดี่ยวเกิดอยู่ตรงส่วนยอดของลำต้น   ใบมีขนาดใหญ่ลักษณะเป็นแฉกๆหรือเป็นหยักๆ   7  -  11  แฉก


ดอก ดอกมีลักษณะพิเศษ   ตามที่ผมตั้งใจจะพูดในวันนี้ครับ   ดอกมะละกอแบ่งออกได้ดังนี้ครับ

1.
ดอกตัวผู้ คือต้นมะละกอต้นนี้จะมีเฉพาะดอกตัวผู้ล้วนๆ  และต้นชนิดนี้ชาวสวนเรียกกันว่าต้นตัวผู้   ลักษณะของดอกตัวผู้จะออกเป็นช่อ   ช่อหนึ่งๆมีหลายดอก  มีก้านดอกยาว  อาจจะยาวประมาณ  1  -  3  ฟุต   ต้นตัวผู้ไม่มีลูกครับ   แต่ชาวสวนจะไม่โค่นทิ้ง   จะต้องเก็บไว้ให้แมลงมาตอมและพาเอาละอองเกสรตัวผู้  ไปผสมกับดอกตัวเมียต่อไป

2.  ดอกตัวเมีย
คือต้นมะละกอต้นนี้จะมีเฉพาะดอกตัวเมียล้วนๆ  และต้นชนิดนี้ชาวสวนเรียกกันว่าต้นตัวเมีย  ลักษณะของดอกตัวเมีย มีขนาดใหญ่   ยาวประมาณ  2  -  2.5   นิ้ว   มีก้านดอกสั้น  เจริญติดอยู่กับฐานของก้านใบ   อาจออกเป็นดอกเดี่ยว  หรือมี   2  -  3   ติดเป็นกระจุก   บางพันธุ์อาจจะมีมากกว่า   10   ดอก  เพื่อได้รับการผสมพันธ์จากละอองเกสรตัวผู้   ก็จะเจริญเป็นผล  มากกว่า   10    ผล
3.  ดอกกระเทย เป็นดอกสมบูรณ์เพศ   มีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน  ดอกมีก้านสั้นติดอยู่กับง่ามของก้านใบ
เห็นไหมครับเป็นเรื่องน่าสนใจจริงๆ  ซึ่งหลายๆคนอาจจะไม่ทราบว่า  มะละกอมีดอกตั้ง  3    แบบ
ผล โดยทั่วๆไปผลมีลักษณะกลมป้อม  จนถึงลักษณะกลมรียาว   เมื่อยังดิบ  เนื้อมีสีขาว  ส่วนผลที่สุกจะมีเนื้อสีส้ม  หรือ ส้มแดง  ใช้รับประทานเป็นผลไม้ครับ



คุณค่าทางอาหาร มะละกอสุก   100      กรัม   ประกอบด้วย


พลังงาน               23           กิโลแคลอรี      เหล็ก                    0.5        มิลลิกัม

เส้นใย   กาก        1.3          กรัม              วิตามิน บี 1       0.5        มิลลิกรัม
แคลเซี่ยม             13           มิลลิกรัม         วิตามิน บี 2             0.2        มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส            13           มิลลิกรัม         วิตามิน  ซี              34         มิลลิกรัม

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ชื่อท้องถิ่น
กล้วยมณีอ่อง (ภาคเหนือ) กล้วยทะนีอ่อง (อีสาน) กล้วยอ่อง , มะลิอ่อง กล้วยใต้

ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa ABB group (triploid) cv. 'Namwaa'

วงศ์

MUSACEAE

ชื่อสามัญ

Banana

ลักษณะ

กล้วยเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นอยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้า ส่วนลำต้นบนดินเกิดจากกาบใบมาหุ้มซ้อนกันเป็นลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่และยาว ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมัน ท้องใบมีสีนวล ดอกออกเป็นช่อเรียกว่า หัวปลี แต่ละช่อย่อยประกอบด้วยใบประดับขนาดใหญ่มีมีสีม่วงแดงหุ้มอยู่   ผลรวมกันเป็นเครือแต่ละเครือจะมีหวีหลายๆ อันมารวมกัน

การขยายพันธุ์

หน่อ โดยใช้หน่อปลูกในหลุมที่เตรียมไว้

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ผล ปลี เหง้า ยาง

สารเคมีที่สำคัญ

ประกอบด้วย สารแทนนิน และสารพวกโมโนเอมีน เช่น สารซีโรโทนิน

อาหารบำรุงผิว



กล้วย ผลไม้ที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี แถมยังมีให้หากินได้ตลอดทั้งปี ใครๆ ก็รู้ว่ากล้วยนั้นอุดมไปด้วยวิตามินเอและซี ที่จะไปช่วยชดเชยน้ำหล่อเลี้ยงผิวตามธรรมชาติที่เราสูญเสียไปทุกๆ วัน กล้วยจึงช่วยให้เรามีผิวพรรณดีขึ้นได้
1.นำกล้วยหอมประมาณครึ่งลูกมาบดให้ละเอียด แล้วผสมกับนมสดหรือน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา
2.พอกหน้าทิ้งไว้สัก 20 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำเย็น
3.ทำอย่างนี้ประมาณสัปดาห์ละครั้ง ผิวหน้าของคุณจะสดใส กระชับ เต่งตึง
++ หากใครเลือกใช้สูตรกล้วยผสมน้ำผึ้ง นอกจากจะนำมาใช้พอกหน้าแล้ว ยังทำเผื่อสำหรับหมักผมได้ด้วย
โดยนำไปหมักผมไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก เพียงเท่านี้คุณก็จะได้เส้นผมที่นุ่มสลวย มีชีวิตชีวา พร้อมใบหน้าอ่อนเยาว์กว่าวัย

การปลูกกล้วย


             การเตรียมแปลงปลูก ในพื้นที่ที่มีหญ้ารกควรทำการดายหญ้าออกก่อนการปลูกประมาณ 10 วัน จากนั้นพรวนดิน กลับดินให้ทั่วเพื่อปราบวัชพืชและทำให้ดินร่วนโปร่ง เหมาะแก่การปลูกพืชยิ่งขึ้น สำหรับบริเวณที่มีน้ำท่วม หากจำเป็นควรยกร่องพอควร
            ระยะปลูก ระยะการปลูกกล้วยมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ถ้าปลูกมากใกล้กันเกินไปจะทำให้เกิดร่มเงามาก หน่อที่จะแตกขึ้นมาใหม่จะไม่แข็งแรงเท่าที่ควร เพราะได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ ดังนั้นการกำหนดระยะปลูกควรคำนึงถึงแสงแดด ความสมบูรณ์ของดิน และชนิดของพันธุ์กล้วยด้วย
ปลูกในที่ราบ
ควรกำหนดระยะระหว่างแถวที่ปลูกให้ห่างกัน 5 เมตร ระหว่างต้น 5 เมตร ในดินที่สมบูรณ์ปานกลาง ไร่หนึ่ง ๆ จะปลูกได้ประมาณ 64 หน่อ
การปลูกแบบยกร่อง
การปลูกค่อนข้างถี่ ห่างกันประมาณ 2.5-3.0 เมตร โดยการปลูกแบบนี้ต้องเว้นระยะปลูกถี่

  วิธีการปลูก ปลูกในที่ราบ
หลังจากกำจัดวัชพืช ขุดดินตลอดทั้งสวน ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน หลังจากนั้นจึงขุดหลุมขนาดความกว้าง ยา ลึก ด้านละ 50 เซนติเมตร กองดินชั้นบนไว้ทางหนึ่ง ดินชั้นล่างไว้ทางหนึ่ง เสร็จแล้วให้ไส่ดินชั้นบนลงไปก่อนพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วลงไปด้วยเพื่อให้ดินร่วนซุยยิ่งขึ้น คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วจึงวางหนอกล้วยที่เตรียมไว้ลงตรงกลางหลุม โดยให้ส่วนยอดสูงกว่าระดับดินประมาณ 4 นิ้ว ส่วนตาจะลึกในดินประมาณ 1 ฟุต การปลูกในฤดูผม ควรพูนดินกลบโคนต้นให้สูงไว้เพื่อป้องกันน้ำขัง
การปลูกแบบยกร่อง
มักใช้กันแถบภาคกลาง โดยเฉพาะกล้วยหอม จะปลูกริมสันร่องทั้ง 2 ข้างตรงกลางเว้นไว้เป็นทางเดิน ให้มีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 3 เมตร ที่ใช้ระยะปลูกถี่เช่นนี้เพราะจะมีการปลูกใหม่ทุกปี

                  วิธีการให้น้ำ กล้วยเป็นพืชที่มีใบใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ ต้องการน้ำมาก ตลอดปีมากกว่าพืชอื่น โดยเฉพาะในฤดูแล้ง และเนื่องจากรากที่หาอาหารส่วนใหญ่แผ่กระจายอยู่ใหล้กับผิวหน้าดิน จึงไม่ควรปล่อยให้ผิมหน้าดินแห้งเป็นอันขาด ถ้าผิวหน้าดินแห้งแล้ว จะทำให้ผลผลิตลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว
                 วิธีการใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยมีผลต่อการเจริญเติงโตของกล้วยมาก กล่าวคือจะช่วยให้ลำต้นอวบแข็งแรง ตกเครือเร็วและได้ผลโต การเจริญเติบโดของกล้วยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่ต้นกล้วยตั้งตัวหลังการปลูก ระยะนี้เป็นเวลาที่กล้วต้องการอาหารมากเครือหนึ่ง จะมีผมกี่ผลนั้น อยู่ที่ความสมบูรณ์ของดินในระยะที่ 2 อยู่ระหว่างหลังตั้งตัวได้จนถึงก่อนตกเครือเล็กน้อย ระยะนี้กล้วยไม่ใช้อาหารมาก อาหาร ๆ ต่าง จะถูกใช้โดยหน่อที่เริ่มแตกขึ้นมาระยะที่ 3 เป็นระยะจากตกเครือจนกล้วยแก่ เป็นระยะที่กล้วยต้องการอาหารมากเหมือนกัน
ระยะการใส่ปุ๋ย
ระยะที่ 1
หลังจากปลูกได้ 1 อาทิตย์
ระยะที่ 2
หลังจากครั้งแรก 1 เดือน
ระยะที่ 3
กล้วยอายุได้ประมาณ 3 เดือน
ระยะที่ 4
กล้วยอายุได้ประมาณ 5 เดือน
**ปุ๋ยใช้ สูตรทั่วไปคือ 15-15-15 หรือ 13-13-21

กล้วย มีน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิด เป็นส่วนประกอบได้แก่ ซูโคส(Sucrose), ฟรุคโตส(Fructose), และกลูโคส (Glucose) รวมถึงไฟเบอร์ หรือเส้นใยต่าง ๆ ซึ่งทำให้กล้วยกลายเป็นแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ที่ร่างกายสามารนำมาใช้ได้ทันที จากการวิจัียพบว่า กล้วยเพียงแค่ 2 ลูกได้พลังานเพียงพอสำหรับการทำงานอย่างหนักเป็นเวลา 90 นาที ไม่น่า่แปลกใจเลยที่กล้วยเ็ป็นผลไม่คู่กายอันดับหนึ่งของนักกีฬา นอกจากกล้วยจะให้พลังานมากแล้ว กล้วยยังช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ และเพิ่มความแข็งแรง สมบูรณ์ให้กับร่างกายของเราได้อีกด้วย
1.โรคซึมเศร้า
จากการสำรวจโดย MIND ในกลุ่มของผู้ที่มีอาการซึมเศร้า หลาย ๆ คนรู้สึกดีขึ้นเมื่อทานกล้วยเข้าไปนี่เป้นเพราะว่ากล้วยมีส่วนประกอบของ Trypophon ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายของเราจะเปลี่ยนให้เป็น Serotnin ที่รู้จักกันดีว่าจะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ทำให้อารมณ์ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น
2.โรคโลหิตจาง
กล้วยมีธาตุเหล็กอยู่มาก ทำให้มันสามารถกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงและช่วยรักษาอาการโลหิตจางได้
3.โรคเกี่ยวกับความดันโลหิต
กล้วยมีโปแตสเซียม (Potassium) สูงมากในขณะที่มีเกลือต่ำทำให้เ็ป็นผลไม้ที่เหมาะสมที่สุดในการจัดการกับความดันเลือดให้ผลดี ดีขนาดที่ว่าองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกายอมให้โรงงานผลิตกล้วยกล่าวอ้างได้ว่ากล้วยช่วยลความเสี่ยงในการเป็นโรคเกี่ยวกับความดันโลหิตได้
4.ยุงกัด
ลองเอาผิวด้านในของเปลือกกล้วยมาถู ๆ บริเวณที่ยุงกัน หลายคนพบว่าช่วยลดอาการบวมและคันได้อย่างไม่น่าเชื่อ
5.ระบบประสาท
กล้่วยมีวิตามิน B สูงซึ่งช่วยในการทำงานของระบบประสาทของเรา
6.โรคท้องผูก
กล้วยมีไฟเบอร์สูงช่วยให้ลำไส้ใหญ่ของเรากลับมาทำงาน ได้เป็นปกติโดยไม่ต้องพึ่งพาพวกยาถ่ายต่างๆ อีกต่อไป
7.อาการเจ็บเสียดหน้าอก
กล้วยช่วยให้เกิดปฏิกิริยาในร่างกายที่จะไปหักล้างพวกกรดในกระเพาะอาหารที่มีเยอะเกินไปได้(กรดพวกที่ทำให้เรารู้สึกเจ็บจุกเสียดที่หน้าอก การกินกล้วยจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดนี้ได้)
8.พลังสมอง
นักเรียนกว่า 200 คนของโรงเรียน Twickenham กินกล้วยพร้อมอาหารเช้า ช่วงพัก และอาหารกลางวัน เพื่อช่วยเพิ่มพลัีงสมองจากการวิจัยพบว่ากล้วยซึ่งอุดมไปด้วยโปแตสเซียมนี้ช่วยให้นักเรียนรู้สึกตื่นตัวมากขึ้นทำให้เรียนได้ดีขึ้น
9.อาแฮงค์(เมาค้าง...)
หนึ่งในวิธีการรักษาอาแฮงค์ให้เร็วที่สุดคือการกิน Banana milkshek ผสมน้ำผึ้ง กล้วยช่วยให้กระเพาะอาหารของเรากลับมาอยู่ในสภาพปกติน้ำผึ้งช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และนมจะช่วยเพิ่มน้ำให้กับร่างกายของคุณได้ด้วย
10.โรคแผลในกระเพาะอาหาร
กล้วยเป็นอาหารที่ใช้ต่อสู้กับอาการผิดปกติต่างๆ ในระบบทางเดินอาหารได้ เนื่องจากกล้วยมีผิวที่นุ่มและลื่น กล้วยเป็นผลไม้ชนิดเดียวที่สามารถท่านได้โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ที่เป็นแผลเรื้อรัง กล้วยยังช่วยปรับภาวะกรดเกินในกระเพาะอาหารให้กลับสู่ปกติได้ ร่้่วมทั้งช่วยลดอาการระคายเคืองเพราะกล้วยจะช่วยเคลือบผิวของกระเาพอาหารได้้
11.น้ำหนักเกินเพราะการทำงาน
จากการศึกษาของสถาบันด้านจิตวิทยาในออสเตรียพบว่าความกดดันที่เกิดจากการทำงานนำไปสู่พฤติกรรมการกินที่ไม่ดี เช่น ช็อคโกแลตและมันฝรั่งทอด เมื่อพิจารณาผู้ป่วยกว่า 5,000 คน นักวิจัยพบว่าคนที่เป็นโรคอ้วนส่วนใหญ่ทำงานที่มีความกดดันสูง รายงานนั้นสรุปว่าถ้าต้องการหลีกเลี่ยงการกินอย่างไม่ยั้งคิด เราต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยทานของว่างที่มีคาร์โบไฮเดรดเยอะๆ ทุกสองชั่วโมง จะมีอะไรอีกก็ "กล้วย" งัย
กล้วยเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชื้น ถิ่นแรกของกล้วยจึงอยู่แถบเอเชียตอนใต้ ซึ่งจะพบกล้วยพื้นเมืองทั้งที่มีเมล็ดและไม่มีเมล็ด และจากผลของการย้ายถิ่นฐานในการทำมาหากิน การอพยพประชากรจากเอเชียตอนใต้ไปยังหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่ต้นคริสต์ศักราชเป็นต้นมา ในการอพยพแต่ละครั้งจะต้องมีการนำเอาเสบียงอาหารติดตัวไปด้วย จึงได้มีการนำเอากล้วยไปปลูกแถบหมู่เกาะฮาวายและหมู่เกาะทางด้านตะวันออก
สำหรับประวัติกล้วยในประเทศไทย เข้าใจว่าประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของกล้วยป่าและต่อมาได้มีการนำเข้ากล้วยตานี และกล้วยชนิดอื่นในช่วงที่มีการอพยพของคนไทยในการตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย มีเอกสารกล่าวว่าในสมัยอยุธยาพบว่ามีกล้วยร้อยหวี
ลักษณะทั่วไป
กล้วย เป็นไม้ผล ลำต้น เกิดจากกาบหุ้มซ้อนกัน สูงประมาณ 2 – 5 เมตร
ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดกระจายส่วนปลายของลำต้นเวียนสลับซ้ายขวาต่างระนาบกัน ก้านใบยาว แผ่น ใบกว้าง เส้นของใบขนานกัน ปลายใบมน มีติ่ง ผิวใบเรียบลื่น ใบมีสีเขียวด้านล่างมีไขนวลหรือแป้งปกคลุม เส้นและขอบใบเรียบ ขนาดและความยาวของใบขึ้นอยู่กับแต่ละพันธุ์
ดอก เป็นดอกห้อยลงมายาวประมาณ 60 – 130 ซม. ซึ่งเรียกว่าหัวปลี ตามช่อจะมีกาบหุ้มสีแดงเป็นรูปกลมรี ยาว 15 – 30 ซม. ช่อดอกมีเจริญก็จะกลายเป็นผล ผล เป็นผลสดจะประกอบด้วยหวีกล้วย เครือละ 7 – 8 หวี แต่ละหวีมีกล้วยอยู่ประมาณ 10 กว่าลูก ขนาดและสีของกล้วยจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของแต่ละพันธุ์ บางชนิดมีผลสีเขียว , เหลือง , แดง แต่ละต้นให้ผลครั้งเดี่ยวเท่านั้น เมล็ด มีลักษณะกลมขรุขระ เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีดำ หนาเหนียวเนื้อในเมล็ดมีสีขาว
ขยายพันธุ์ ด้วยการแยกหน่อ หรือแยกเหง้า
รสชาติ รสฝาด
สรรพคุณทางยา
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลดิบซึ่งมีสารแทนนินมาก รักษาอาการท้องเสียและบิด โดยกินครั้งละครึ่งหรือ 1ผลมีรายงานว่า
มีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เมื่อทดลองให้หนูขาวกินยาแอสไพริน แล้วกินผงกล้วยดิบ พบว่าสามารถป้องกันไม่ให้เกิดแผลในกระเพาะได้เมื่อกินผงกล้วยดิบในปริมาณ 5 กรัม และสามารถรักษาแผลในกระเพาะที่เป็นแล้วได้เมื่อกินในปริมาณ 7 กรัม นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อเนื่องจากแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย สำหรับสารสกัดจะมีฤทธิ์เป็น 300 เท่าของผงกล้วยดิบ โดยออกฤทธิ์ สมานแผลและเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเมือก โดยการเพิ่มเมือกและเร่งการแบ่งตัวของเซลล์ นอกจากนี้ยังมีผลต่อกระบวนการสร้างเซลล์ที่ส่งผลไปถึงการรักษาแผลด้วย
สำหรับผู้ที่มักจะมีอาการแน่นจุกเสียด ยังสามารถใช้ผลกล้วยดิบฝานบางๆ แล้วตากแห้ง บรรเทาอาการ ปวดท้องจุกเสียดได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ผู้ที่มักจะเป็นตะคริวที่เท้า ข้อเท้า และน่องบ่อยๆ การรับประทานกล้วยเป็นประจำจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้
เมื่อพูดถึงกล้วย ไม่ใช่เพียงแต่ผลกล้วยเท่านั้นที่เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ แทบจะทุกส่วนของกล้วย มีสรรพคุณทางยาทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น
ผลกล้วยสุก บรรเทาอาการท้องผูก ความดันโลหิตสูง เจ็บคอ บำรุงผิว
ต้นและใบแห้ง นำมาเผา รับประทานครั้งละ 1/2 - 1 ช้อนชา หลังอาหาร แก้เคล็ดขัดยอก
หัวปลี ช่วยบำรุงน้ำนม
ยาง จากปลีกล้วยหรือก้านกล้วย ใช้รักษาแผลสด และทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อยได้
รากกล้วย แก้ปวดฟัน แก้ร้อนใน โลหิตจาง ปวดหัว ปัสสาวะขัด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ดอกกล้วย ช่วยเรื่องประจำเดือนขัด แก้ปวดประจำเดือน โรคเบาหวานและโรคหัวใจ
เปลือกกล้วย แก้ผิวหนังเป็นตุ่ม คัน หรือเป็นผื่น และฝ่ามือฝ่าเท้าแตก
สำหรับสรรพคุณของกล้วยในการช่วยป้องกันโรคต่างๆ ก็มีมากมาย ได้แก่
โรคโลหิตจาง
กล้วยมีธาตุเหล็กสูง จะเป็นตัวช่วยกระตุ้นการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด ช่วยได้ในกรณีที่มีภาวะโลหิตจาง
โรคความดันโลหิตสูง
กล้วยมีธาตุโปแตสเซียมสูง แต่มีปริมาณเกลือต่ำ จึงเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา(USFDA) ยินยอมให้โฆษณาได้ว่ากล้วยเป็นผลไม้พิเศษช่วยลดอันตรายที่เกิดจากความดันโลหิตหรือโรคเส้นเลือดฝอยแตก
เส้นเลือดฝอยแตก
จากการวิจัยที่ลงในวารสาร The New England Journal of Medicine ระบุว่าการรับประทานกล้วยเป็นประจำสามารถลดอันตรายที่เกิดกับเส้นโลหิตแตกได้ถึง 40%